จับตาตลาดนักท่องเที่ยวจีน ขยายตลาดบนเทรนด์การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป

ตลาดนักท่องเที่ยวจีน


เป็นที่ทราบกันว่าประเทศไทยกับประเทศจีนมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน ทั้งเรื่องวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว แต่ในช่วงปี 2019 ได้เกิดวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ขึ้น ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างมหาศาล โดยเฉพาะตลาดนักท่องเที่ยวจีน เนื่องจากประเทศจีนได้ทำการปิดประเทศ

ในช่วงต้นปี 2023 นี้เอง ทางจีนได้เริ่มกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง และเมื่อเร็ว ๆ นี้ยังมีนโยบายฟรีวีซ่าระหว่างไทย-จีน ออกมาก ทำให้นักท่องเที่ยวจีนกลายเป็นอีกหนึ่งความหวังในการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวของไทย เป็นโอกาสสำคัญของภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SME จะได้ขยายตลาดนักท่องเที่ยวจีนอีกครั้ง

ทำไมตลาดนักท่องเที่ยวจีนจึงน่าสนใจ ?

หลังจากที่ประเทศจีนกลับมาเปิดประเทศอย่างเต็มตัว จำนวนนักท่องเที่ยวจีนก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เผยว่าจากสถิติ ตั้งแต่เดือน ม.ค. – ก.พ. 2024 นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมาเที่ยวไทยแล้วมากกว่า 1 ล้านคนและจาการคาดการณ์ของททท. ในครึ่งปีหลังนี้จะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเข้ามาในประเทศไทยถึง 3.6 ล้านคน ซึ่งสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ 

นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนที่นั่งเครื่องบินจากจีนเข้าไทยปี 2024 ใน เดือน พ.ค. มีสัดส่วนฟื้นตัว 60% ของจำนวนที่นั่งเครื่องบินทั้งหมดราว 13 ล้าน และทาง Airbnb ก็ได้เผยว่าประเทศไทยถูกจัดเป็นอันดับหนึ่ง ประเทศยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยสถานที่ที่เป็นจุดมุ่งหมายของชาวจีนคือ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เกาะสมุย และพัทยา 

จะเห็นได้ว่าตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นตลาดนักท่องเที่ยวที่ใหญ่และมีกำลังซื้อที่น่าจับตามองที่สุดในปี 2024 จากการที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และจากปัจจัยสำคัญยกเว้นการขอวีซ่า (วีซ่าฟรี) เพื่อการท่องเที่ยวระหว่างไทย-จีน

ฟรีวีซ่า การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

ฟรีว๊ซ่าไทย-จีน

จากการที่รัฐบาลไทย-จีนได้ออกนโยบายยกเว้นการตรวจลงตรา (วีซ่า) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2024 เป็นการบ่งบอกความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองประเทศ ถือเป็นนโยบายที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันภาคเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี พบว่าตั้งแต่วันแรกที่มีการฟรีวีซ่ายอดการจองตั๋วเครื่องบิน และที่พักในไทย เพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า เทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ปี 2019 ซึ่งการฟรีวีซ่าครั้งนี้ทำให้นักท่องเที่ยวจากประเทศจีนรู้สึกง่ายและสะดวกขึ้น จึงทำให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายที่น่าสนใจสำหรับชาวจีน 

อีกทั้งในแง่ของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่เป็น “Soft power” ที่ง่ายขึ้น อย่างการตามรอยศิลปิน ซีรีส์ หรือคอนเสิร์ตต่าง ๆ เพราะดารา ศิลปินไทยหลายคน มีกลุ่มแฟนคลับจีนกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า “แม่จีน” อยู่ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น ดังนั้นการฟรีวีซ่าในครั้งนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวมาโฟกัสกับตลาดนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น

นักท่องเที่ยวจีนเป็นคนกลุ่มไหน ?

นักท่องเที่ยวจีนสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มท่องเที่ยวด้วยตัวเอง กับกลุ่มท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ หากต้องการทำการตลาดเจาะชาวจีนจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจลักษณะของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน

  1. กลุ่มท่องเที่ยวด้วยตัวเอง (FIT – Free Independent Traveler) เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวเป็นกลุ่มแรก ๆ ตั้งแต่หลังวิกฤตโควิด-19 ด้วยพฤติกรรมของชาวจีนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 20-34 ปี ส่วนใหญ่มาจากเมืองเมืองใหญ่ เข่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เสิ่นเจิ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง นิยมเที่ยวแบบอิสระสามารถวางแผนการเที่ยวด้วยตัวเอง โดยการหาข้อมูลบนโลกออนไลน์ เน้นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ ท่องเที่ยวในท้องถิ่น ผ่านการรีวิวของ Influencer จีน รวมทั้งการจองที่พักต่าง ๆ ก็ยังทำผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
  2. กลุ่มท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนที่มีสัดส่วนลดลงตั้งแต่ปี 2023 โดยมีเพียง 50% ของนักท่องเที่ยวจีน ส่วนใหญ่มาจากเมืองรอง เช่น ซีอาน หนานหนิง แม้จะยังมีการท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปแต่ก็มีผลสำรวจของ McKinsey เผยว่า คนจีนอายุ 35 ปีขึ้นไป นิยมท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปที่สามารถออกแบบได้ด้วยตนเองตามที่สนใจ เช่น ต้องการทำบุญ ตามศิลปิน  ตามรอยซีรีส์

ส่วนช่วงฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวจีนมักจะเลือกไปต่างประเทศจะมี 4 ช่วง คือ เทศกาลตรุษจีน วันหยุดแรงงาน ปิดเทอมฤดูร้อน และวันชาติจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่วงหยุดยาวของประเทศจีน

เจาะการตลาดจีนออนไลน์ผ่านโลกโซเชียล

ตลาดนักท่องเที่ยวจีน

หากต้องการเจาะตลาดนักท่องเที่ยวจีนในปัจจุบัน ต้องเข้าพฤติกรรม เทรนด์ และช่องทางการสื่อสารที่ชาวจีนใช้ เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีแพลตฟอร์มใช้เป็นของตัวเองที่หลากลาย ดังนั้นแล้วจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ และนักการตลาดที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจก่อนที่จะลงมือทำการตลาด

คนจีนใช้จ่ายไปกับอะไร ?

กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนจะใช้จ่ายไปกับสินค้า หรือบริการอะไรขึ้นอยู่กับว่าเป็นนักท่องเที่ยวสายไหน เนื่องมาจากปัจจุบันนักท่องเที่ยวจีนมีสไตล์การเที่ยวที่หลากหลายมากขึ้น และชอบที่จะหาข้อมูลผ่านโลกโซเชียลอย่างอิสระ ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้แบ่งสายนักท่องเที่ยวจีนหลัก ๆ ได้ดังนี้ 

1. นักท่องเที่ยวสายคอนเทนต์เข้าถึงความเป็น Local (Content tourism)

ธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวสายนี้ เช่น ธุรกิจ Homestay, ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ผลิตโดยชุมชน, กิจกรรม workshop อนุรักษ์ธรรมชาติ

2. นักท่องเที่ยวสายเที่ยวตามแรงบันดาลใจ (Set-jetting tourism) และ สายกิจกรรม (Event tourism)

ธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวสายนี้ เช่น ธุรกิจพาดำน้ำ เดินป่า ปีนผา หรือกิจกรรมซิปไลน์, เทศกาลงานดนตรี

3. นักท่องเที่ยวสายชิม (Gastronomy tourism)

ธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวสายนี้ เช่น ร้านอาหาร, คาเฟ่

4. นักท่องเที่ยวสายรักสุขภาพ (Medical and Wellness tourism)

ธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวสายนี้ เช่น โรงพยาบาล, นวดแผนไทย, สปา, ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย

5. นักท่องเที่ยวสายชอบการเรียนรู้ (Summer camp)

ธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวสายนี้ เช่น โรงเรียนสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ, Campแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

6. นักท่องเที่ยวสายมูเตลู (Mutelu tourism)

ธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวสายนี้ เช่น ธุรกิจพระเครื่อง หรือเครื่องราง, ทัวร์สายบุญ

ดังนั้นหากใครกำลังทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของนักท่องเที่ยวจีนในปัจจุบัน ต้องเตรียมตัวกลยุทธ์การตลาดให้พร้อม ถึงอย่างไรก็ตามหากมองในภาพรวมทั่วไป การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนจะมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สถานที่พักผ่อน การช็อปปิ้ง ผลไม้ และอาหาร Street food เป็นหลัก แต่อุตสาหกรรมที่น่าสนใจและกำลังมาแรงสำหรับสาวชาวจีนเพศหญิง คือเครื่องสำอางของแบรนด์คนไทยนั่นเอง

แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่นิยมของชาวจีน

เนื่องมาจากชาวจีนนิยมใช้เแพลตฟอร์มในประเทศตัวเอง ไม่ว่าจะแอปพลิเคชันในการสื่อสาร เสพข่าวต่าง ๆ สื่อบันเทิง การติดตามศิลปิน ดารา หรือแม้กระทั่งการช็อปปิ้ง จนประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของ E-commerce วันนี้เราจึงคัดแพลตฟอร์มตามการใช้งานมาให้ทุกคนได้ทราบก่อนว่า ชาวจีนเขามีแพลตฟอร์มอะไรเป็นของตัวเองบ้าง และนิยมใช้แอปพลิเคชันอะไร เพื่อให้เป็นก้าวที่มั่นใจ ก่อนที่จะเริ่มทำการตลาดจีนออนไลน์

แพลตฟอร์มการใช้จ่ายเงิน

หากต้องทำการตลาดจีนก็ต้องเข้าใจพฤติกรรม และวิธีการชำระเงินของชาวจีนก่อน ซึ่งปัจจุบันจะพบว่าชาวจีนมีการใช้จ่ายเงินสดน้อยลง เน้นใช้แพลตฟอร์มชำผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และมีแนวโน้มจำนวนมากขึ้นทุก โดยจะเป็นรูปแบบการจ่ายเงินผ่าน QR Code โดยแอปพลิเคชันที่คนจีนใช้ชำระเงินก็คือ

  • Alipay (อาลีเพย์) และ Alipay+ (อาลีเพย์ พลัส)

Alipay เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ชำระเงินออนไลน์ผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล (e-Wallet) มีผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศจีน สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การชำระค่าสินค้าและบริการ การโอนเงิน และการชำระบิลต่าง ๆ ความแตกต่างของ Alipay กับ Alipay+ คือ Alipay+ เป็นเวอร์ชันที่ถูกพัฒนาเพื่อให้ใช้จ่ายระหว่างประเทศได้ โดยเป็นการเชื่อมต่อผู้ค้าพันธมิตรทั่วโลกจากหลากหลายประเทศภูมิภาคต่าง ๆ กับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ซึ่งตัว Alipay+ นี้สำคัญต่อผู้ประกอบการในไทยที่ต้องการขยายตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสามารถใช้รับเงินจากประเทศจีนได้แล้ว ยังสามารถใช้รับเงินจากชาวต่างชาติประเทศฮ่องกง เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ได้ด้วย

  • WeChat Pay ( วีแชทเพย์ )

เป็นบริการชำระเงินผ่านตัวแอปพลิเคชัน WeChat บนมือถือที่ชาวจีนนิยมใช้ทำธุรกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การโอนเงินทั่วไป E-commerce ชำระค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ไปจนถึงการจองโรงแรมหรือเครื่องบิน จึงทำให้ WeChat Pay เป็นที่คาดหวังของชาวจีนเวลาเดินทางไปต่างประเทศว่าจะยังสามารถใช้แอปพลิเคชันนี้ในการใช้จ่ายได้ ทั้งนี้ WeChat สำหรับชาวต่างชาติอาจจะยังผูกกระเป๋าเงินดิจิทัล (e-Wallet) กับธนาคารไม่ได้ ผูกได้แค่กับบัตรเครดิต แต่คนไทยสามารถรับเงินจาก WeChat ผ่าน QR Code ของธนาคารในประเทศได้

หากผู้ประกอบการท่านใดอยากที่อยากจะเข้าถึงตลาดนักท่องเที่ยวจีน ก็อย่าลืมแปะ QR Code รับชำระผ่าน Alipay+ หรือ WeChat ไว้ เพื่อสร้างความประทับใจและอำนวยความสะดวกสบายให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

1.WeChat 

แอปพลิเคชันสำหรับการแชท สถิติจาก Demandsage พบว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา WeChat มีจำนวนผู้ใช้งานชาวจีนมากกถึง 810 ล้านบัญชี ซึ่งมีฟีเจอร์ที่ผู้ประกอบการ และนักการตลาดควรรู้คือ Official Account, Moments, WeChat Ads, Mini Program or Mini-app, WeChat Pay ซึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คือตัวฟีเจอร์ “MiniProgram” ที่เหมือนมีแพลตฟอร์ม E-commerce ไว้ข้างในอีกที ด้วยฟีเจอร์ของตัวแอปฯ ที่ครอบจักรวาล จึงทำให้กลายเป็นแอปพลิเคชันหลักตัวหนึ่งของชาวจีน และถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สำคัญในการทำการตลาดออนไลน์จีนด้วย

2. Weibo 

แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดีย ที่ชาวจีนใช้ติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ต่าง ๆ ศิลปิน ดารา สื่อบันเทิงอื่น ๆ  มีความคล้ายคลึงกับ Twitter และ Facebook ถือเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในจีน จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สำคัญในการทำการตลาดจีนออนไลน์ โดยเฉพาะกลยุทธ์ Influencer marketing เพราะ Weibo เป็นช่องทางหลักที่เหล่า Influencer จีน ใช้เผยแพร่คอนเทนต์ต่าง ๆ สู่โซเชียลมีเดีย

3. Douyin

หากเทียบกับประเทศอื่น ๆ ก็คือแอปพลิเคชัน TikTok ในเวอร์ชันจีนนั่นเอง ที่มีใช้แค่ในเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น แน่นอนว่ารูปแบบคอนเทนต์ก็จะเป็นคลิปวิดีโอสั้น และมีฟีเจอร์ร้านค้าสามารถขายสินค้าบนแพลตฟอร์มได้ จึงทำให้เป็นอีกแพลตฟอร์มที่เฟื่องฟูไปด้วย Influencer เหมาะสำหรับทำการตลาดจีนอย่างมาก

4. Baidu 

แพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนกับ Google ของจีน ที่มีผู้ใช้งานกว่า 660 ล้านคนต่อเดือน ตามข้อมูลของ Statista ในช่วงปี 2019-2024 เพราะเป็นตัว Search Engine หลักของชาวจีน รวมทั้งยังมีบริการ  Baidu Map Baidu Picture หรือ Baidu Music แน่นอนว่าช่องทางนี้สามารถทำการตลาดด้วยกลยุทธ์ SEO เพื่อให้ชาวจีนเข้าถึงแบรนด์ของคุณได้เหมือนกัน

5. Taobao

เป็นเว็บ E-Commerce สำหรับการซื้อขายออนไลน์ ในเครือ Alibaba ที่มีคนจีนใช้เยอะที่สุด เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตโดยตรงจะมาขายสินค้าเองเอง ทำให้ผู้ซื้อเองก็สามารถเข้าถึงร้านธุรกิจ SME หรือร้านค้าท้องถิ่นได้โดยตรง สินค้าที่ขายดีจึงมักจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์จากในท้องถิ่น เสื้อผ้า รองเท้าเครื่องประดับ ของใช้ในครัวเรือน ผลไม้อบแห้ง ขนม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งในบ้าน 

การใช้ Influencer  Marketing

ตลาดนักท่องเที่ยวจีน Influencer จีน 

เมื่อกลุ่มคนที่นิยมมาเที่ยวในเมืองไทย เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ และใช้โซเชียลเป็นสื่อสำคัญในการหาข้อมูลการท่องเที่ยว ทำให้คอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ในทาง Duoyin นั้นน่าสนใจ เพราะพบว่า Influencer คอนเทนต์ประเภทขายไลฟ์สไตล์ใน Duoyin มีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 โดยในปี 2565 มีผู้ติดตามเพิ่มขึ้น 149.2 % จากปี 2564 นอกจากนี้การใช้ Influencer มาช่วย Live ขายสินค้าไทยก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะจากข้อมูลจาก สมาคมโฆษณาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Advertising Association: CAA) บริษัท Weiboyi และ Global Digital Marketing Summit (GDMS) ระบุว่าในปี 2566 ตลาด Livestreaming e-Commerce ของจีน มีมูลค่ามากถึง 4.92 ล้านล้านหยวน หากมีการนำ Influencer มา Live เพื่อช่วยขยายตลาด ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่น่าจับตา

ดังนั้นแล้วกลยุทธ์ Influencer Marketing ไม่ว่าจะใช้ Influencer จีน หรือไทย จึงน่าสนใจสำหรับทำการตลาดจีนในโลกออนไลน์ แต่ทั้งนี้ชาวจีนก็จะชอบคอนเทนต์ที่จริงใจจาก Influencer มากกว่าคอนเทนต์ที่เป็นการโฆษณา ที่สำคัญแล้วในประเทศจีนมีหน่วยงานตรวจสอบการทำคอนเทนต์ของ Influencer หากให้ข้อมูลเกินจริงสามารถดำเนินคดีได้ ดังนั้นแล้วควรเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์ มีภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อให้ได้ผลการตลาดที่มีประสิทธิภาพตรงกลุ่มเป้าหมาย ควบคู่ไปกับการจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มสำคัญของจีน 

ตัวอย่างการใช้ Influencer  เพื่อเจาะตลาดจีน

คุณ บีบี เปรมวดี 

 Influencer ตลาดนักท่องเที่ยวจีน

Influencer ชาวไทย ที่เป็นไอดอลสายมูของชาวจีน เริ่มจากการนำสินค้าของไทยทั่วไป ของกิน เครื่องสำอาง ผลไม้อบแห้ง ไปขาย ให้เพื่อน ๆ ชาวจีน จนได้เข้าวงการไลฟ์ขายของในแพลตฟอร์ม Taobao สุดท้ายได้มาถึงการไลฟ์สินค้า “สายมู”  เคยมียอดขายสินค้าสายมูสูงสุดถึง 5 ล้านบาทในการไลฟ์ 1 ชั่วโมง ซึ่งตอนนี้ในช่องทางโซเชียลของคุณ บีบี เอง ก็มีคอนเทนต์รีวิวอาหาร สินค้าไทย สถานที่ท่องเที่ยว ที่เน้นเจาะตลาดคนจีนโดยเฉพาะด้วย

Mr. Li Kai และ Mr. Li Wen Lon

 Influencer จีน ตลาดนักท่องเที่ยวจีน
ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.tnnthailand.com

จากการที่ภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกัน โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และทีมพาณิชย์จังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ดูแล ได้ดึงอินฟลูอินเซอร์จีน  Mr. Li Kai และ Mr. Li Wen Lon มาไลฟ์ขายทุเรียน จนมียอดทะลุ 300 ล้าน ภายใน 3 วัน ชี้ให้เห็นว่า Influencer ชาวจีนสามารถสร้างรายได้ให้กับภาคธุรกิจของไทยเช่นกัน

สรุป

ตลาดนักท่องเที่ยวจีนถือเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจในปี 2024 นี้เป็นอย่างมาก ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยว และเทรนด์ต่าง ๆ ที่ชาวจีนให้ความสนใจในประเทศไทย ผู้ประกอบการ หรือนักการตลาดทุกท่านหากต้องการเจาะตลาดจีน จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ รวมทั้งเทรนด์การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปเป็นแบบเที่ยวอิสระมากขึ้น เน้นหาข้อมูลด้วยตนเองผ่านโซเชียล  ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเข้าใจแบรนด์ของตนเองเป็นอย่างดีก่อน เพื่อที่จะได้ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างถูกจุด ขยายโอกาสให้กับแบรนด์ได้ถึงกลุ่มเป้าหมาย

หากคุณมองหาผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเรื่องแคมเปญ Influencer marketing ไว้ใจให้ Kollective วางแผน ทำงาน ติดตาม และร่วมพัฒนาคอนเทนต์ ด้วยการทำงานกับทีมระดับมืออาชีพ รวมทั้งแพลตฟอร์มที่จะให้คุณทำงานกับข้อมูลคุณภาพ เพื่อช่วยให้คุณสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่แบรนด์ตั้งเป้าไว้


หรือสอบถามโดยตรงได้ที่  090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email: contact@kollective.one

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *