เจาะลึกกลยุทธ์ Creator Commerce เทรนด์ใหม่ที่สายการตลาดห้ามพลาด

Why Creator Commerce

หลายคนอาจจะเคยได้ยินการตลาดแบบปากต่อปาก (word-of-mouth marketing) ซึ่งเป็นการตลาดที่ทำให้คนเกิดความสนใจ ประทับใจ ในตัวสินค้าหรือบริการ จนเกิดการบอกต่อประสบการณ์ให้กับคนใกล้ชิด และถ้าหากใช้รูปแบบการตลาดนี้ผนวกกับโลกของการซื้อขายออนไลน์ จะช่วยกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มอีกไปอีกได้หรือไม่? วันนี้ Kollective จะพามาเจาะกลยุทธ์ Creator Commerce ที่เป็นการนำการตลาดปากต่อปากมาประยุกต์ผ่าน Influencer ในรูปแบบใหม่ที่ไม่เหมือนกับการทำ Influencer marketing แบบเดิม ๆ ว่ามีรูปแบบอย่างไร ช่วยให้ยอดขายเติบโต ประหยัดต้นทุนการตลาดจริงหรือไม่ แล้วผู้ประกอบการ หรือนักการตลาด ควรปรับตัวอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

เทรนด์ตลาด E-commerce ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ก่อนอื่นเรามาดูกันว่าตลาดเทรนด์ตลาด E-commerce เป็นอย่างไรและน่าสนใจอย่างไร จากสถิติของ KKP Research มูลค่า E-commerce หรือการค้าปลีกออนไลน์ของไทยขยายตัว กว่า 7 เท่าตัวในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ในปี 2020 ขนาดตลาด E-commerce ของไทยอยู่ที่ประมาณ 3 แสนล้านบาท และคาดว่ามูลค่า E-commerce ของไทยจะแตะ 7.5 แสนล้านบาทในปี 2025 หรือคิดเป็น 16% ของมูลค่าค้าปลีกรวมของประเทศ จากสถิติจะเห็นได้ว่าตลาด E-commerce เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็นำมาสู่การปรับตัวของแฟลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดนี้

การปรับตัวของแพลตฟอร์ม E-commerce 

Creator Commerce trend

หากย้อนกลับไปช่วงแรก ๆ ถ้าถามว่าแอปพลิเคชัน TikTok คือเป็นแพลตฟอร์มประเภทไหน เราก็คงตอบได้เลยว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียวิดีโอสั้น แล้วถ้าถามอีกว่า Shopee, Lazada เป็นแพลตฟอร์มประเภท ก็คงตอบว่าแพลตฟอร์มซื้อขาย E-commerce 

แต่ทุกคนสังเกตหรือไม่ว่าช่วงหลังนี้ตัว TikTok เองก็กลายเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลที่มีการซื้อขายสินค้าอยู่ด้วย่นกัน ที่สำคัญคือยังเก็บทุก Customer journey ของคนซื้อของออนไลน์ได้ครบจบในที่เดียว ตั้งแต่การที่คนจะเห็นสินค้าผ่านคอนเทนต์วิดีโอ ไลฟ์ แล้วให้ Creator เหล่านั้นช่วยติดตะกร้าเพื่อที่ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสั่งซื้อได้เลย 

กลับกันช่วงแรก Shopee, Lazada  ก็เป็นแค่แพลตฟอร์มซื้อขาย ใครอยากซื้ออะไรก็เข้าไปเซิร์ชหา ใครอยากขายอะไรก็ลงขาย เสมือนเป็นตัวกลางเฉย ๆ แต่ในปัจจุบันแพลตฟอร์ม E-commerce ต่างปรับตัวโดยการให้มี Creator  มาช่วยทำ Affiliate program ทั้งผ่านการไลฟ์ วิดีโอ  หรือคอนเทนต์รูปแบบต่าง ๆ บนช่องทางโซเชียล แล้วแปะลิงก์ซื้อสินค้าเพื่อให้คนซื้อผ่านลิงก์ จะเห็นได้ว่าแพลตฟอร์มทั้งสองประเภท พยายามจะปรับตัวให้เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถขายของไปพร้อม ๆ กับการสร้างคอนเทนต์ได้ และมีจุดร่วมกันคือเปิดโอกาสให้ Creator ได้เข้ามาสร้างคอนเทนต์ แลกกับค่าคอมมิชชันที่ได้จากการที่มีคนเข้ามาซื้อสินค้าผ่านลิงก์ที่แปะ ทำให้เกิดกลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจ “Creator commerce” ขึ้นมา

Creator Commerce คืออะไร

what is Creator Commerce

รูปแบบการตลาดที่ต่อยอดมาจาก Influencer marketing อันเนื่องมาจากหลาย ๆ แบรนด์เริ่มประสบปัญหาในการจ้าง Influencer marketing ที่ใช้ต้นทุนการตลาดที่สูง แต่ไม่ได้ผลลัพธ์ได้ตามที่คาดหวังไว้ เพราะ การใช้ Influencer แบบเดิม ๆ จะเน้นไปที่ Awareness ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสินค้า แต่ Creator Commerce  จะเป็นการปรับตัวให้ Influencer ช่วยผลักดันยอดขายผ่านการทำ Affiliate marketing โดยตัว Creator เองก็จะได้ค่าตอบแทนเป็นค่าคอมมิชชันด้วย ซึ่งตัว Creator Commerce สามารถสร้างคอนเทนต์ได้หลากหลายรูปแบบ และหลายช่องทาง ตามความเหมาะสมของแบรนด์ อาทิ

  • รูปแบบ Blog เหมาะกับสินค้า หรือบริการที่ต้องใช้การอธิบายรายละเอียดและความรู้สึกก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันอาจไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเว็บบล็อกโดยตรง แต่อาจจะเป็นการเขียนบล็อกผ่านสื่อโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเพจ กลุ่ม Community ต่าง ๆ ในโซเชียล เช่น ใน X ก็จะมี Community รีวิวบิวตี้, ของดีน่าช็อป Shopee & Lazada ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางที่ creator สามารถสร้างคอนเทนต์รีวิว แนะนำสินค้าแล้วติด Affiliate link ได้
  • รูปแบบ Live เป็นฟีเจอร์ที่มีอยู่ทั้งในแพลตฟอร์มโซเชียล และแพลตฟอร์ม E-commerce เช่น TikTok Shopee เป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่นิยมในการใช้ขายของในปัจจุบัน เพราะเป็นช่องทางหนึ่งที่กลุ่มเป้าหมายจะได้เห็นสินค้าจริง ๆ และตัวแบรนด์เองก็ใช้สร้างความจริงใจต่อลูกค้าได้ ซึ่งแบรนด์สามารถดึง Influencer มาช่วย Live ขายของดึงดูดกลุ่มเป้าให้เข้ามาสนใจ พร้อมกับการติดตะกร้าในไลฟ์ ให้กลุ่มเป้าหมายได้กดสั่งซื้อได้เลย
  • รูปแบบ Video เป็นอีกรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะใน  TikTok เพราะสามารถติดตะกร้าในคอนเทนต์ที่ทำได้เลย และยังเป็นคอนเทนต์ที่จะทำให้คนได้เห็นภาพสินค้า หรือบริการจริง ๆ พร้อกับเสียงบรรยายของ Creator ได้ โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหาร ที่ต้องสร้างคอนเทนต์ให้ดูมีความน่ากิน น่าลอง ดึงดูดใจลูกค้าให้อยู่หมัด

Creator commerce เทรนด์ที่ต้องตามให้ทัน

ที่สำคัญแล้ว Creator commerce ไม่ใช่การจำกัดความว่าต้องเป็นการทำการตลาดร่วมกับแพลตฟอร์มโซเชียลหรือ E-commerce ต่าง ๆ แต่รวมถึงการที่เราสามารถแทร็กลิงก์เว็บไซต์ของตัวเองเพื่อหาที่มาของการปิดการขาย ซึ่งสินค้าก็อาจไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าปลีกเล็ก ๆ แต่รวมถึงจำพวกหอสังหาริมทรัพย์ด้วย เห็นได้ชัดจากเคสตัวอย่าง ศุภาลัย ที่ก็ได้ใช้กลยุทธ์นี้มาช่วยเพิ่มยอดขายเช่นกัน

Creator Commerce Supalai
ขอขอบคุณภาพจาก supalai.com

ถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยอีกว่า แล้วการใช้ “Creator commerce” แตกต่าง หรือดีกว่าการใช้ Influencer Marketing ปกติอย่างไร ทำไมหลาย ๆ ธุรกิจต้องตามให้ทัน Kollective จะมาค่อย ๆ เปิดเหตุผลให้ทุกคนฟังดังนี้

  • รูปแบบ Blog

เหมาะกับสินค้า หรือบริการที่ต้องใช้การอธิบายรายละเอียดและความรู้สึกก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันอาจไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเว็บบล็อกโดยตรง แต่อาจจะเป็นการเขียนบล็อกผ่านสื่อโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเพจ กลุ่ม Community ต่าง ๆ ในโซเชียล เช่น ใน X ก็จะมี Community รีวิวบิวตี้, ของดีน่าช็อป Shopee & Lazada ซึ่งก็เป็นอีกช่องทางที่ creator สามารถสร้างคอนเทนต์รีวิว แนะนำสินค้าแล้วติด Affiliate link ได้

  • รูปแบบ Live

เป็นฟีเจอร์ที่มีอยู่ทั้งในแพลตฟอร์มโซเชียล และแพลตฟอร์ม E-commerce เช่น TikTok Shopee เป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่นิยมในการใช้ขายของในปัจจุบัน เพราะเป็นช่องทางหนึ่งที่กลุ่มเป้าหมายจะได้เห็นสินค้าจริง ๆ และตัวแบรนด์เองก็ใช้สร้างความจริงใจต่อลูกค้าได้ ซึ่งแบรนด์สามารถดึง Influencer มาช่วย Live ขายของดึงดูดกลุ่มเป้าให้เข้ามาสนใจ พร้อมกับการติดตะกร้าในไลฟ์ ให้กลุ่มเป้าหมายได้กดสั่งซื้อได้เลย

  • รูปแบบ Video

เป็นอีกรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะใน  TikTok เพราะสามารถติดตะกร้าในคอนเทนต์ที่ทำได้เลย และยังเป็นคอนเทนต์ที่จะทำให้คนได้เห็นภาพสินค้า หรือบริการจริง ๆ พร้อกับเสียงบรรยายของ Creator ได้ โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหาร ที่ต้องสร้างคอนเทนต์ให้ดูมีความน่ากิน น่าลอง ดึงดูดใจลูกค้าให้อยู่หมัด

ธุรกิจที่ต้องจับตามองเทรนด์นี้ให้ดี

ธุรกิจที่ควรจับจ้องเทรนด์นี้ไว้ให้ดี และต้องปรับตัวตามให้ทัน จะเน้นเป็นธุกิจแบบ B2C ที่เน้นการสื่อสารและการขายสินค้ากับผู้บริโภคโดยตรง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) เผยว่า เมื่อปี 2565 มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E- commerce ในประเทศไทย มีมูลค่าถึง 5.43 ล้านล้านบาท โดยกลุ่ม B2C ครองแชมป์กินสัดส่วนมูลค่าอีคอมเมิร์ซมากกว่าครึ่งถึง ร้อยละ 51.7 ซึ่ง Kollective ก็ได้แบ่งกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจได้ดังนี้

  1. ธุรกิจที่ Product ซื้อง่ายขายคล่องในตลาด E-commerce จะเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีราคาสูง เมื่อผู้บริโภคผ่านมาเห็นคอนเทนต์ ตัดสินใจซื้อได้ไม่ยาก เช่น food & beverage เครื่องสำอาง สกินแคร์เพราะเป็นสินค้าที่การรีวิวให้เห็นสินค้าจริง รวมถึงผลลัพธ์การใช้มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
  2.  สินค้าประเภท IT, Gadget ต่าง ๆ เพราะเป็นสินค้าในเทรนด์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้สินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าที่ค่อนข้างมีราคาทำให้มีค่าคอมมิชชันสูงตามไปด้วย ซึ่งก็จะช่วยดึงดูดให้ Creator หันมาสนใจนำสินค้าไปสร้างคอนเทนต์โปรโมตได้มากขึ้น 
  3. การบริการเซอร์วิสต่าง ๆ เช่น การขายดีลโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา คลินิก การใช้ Creator จะช่วยดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามาใช่บริการมากกว่า เพราะผู้บริโภคจะเชื่อใจคอนเทนต์ที่เป็นประสบการณ์จริงจาก Creator มากกว่าคอนเทนต์ที่ผู้ประกอบการสร้างเอง
  4. ธุรกิจสินค้าดั้งเดิมที่อยู่ในโลกของออฟไลน์ เช่น สินค้าหรือบริการท้องถิ่น ที่ต้องเริ่มปรับเข้ามามีตัวตนในโลกออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จัก เข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น

ผู้ประกอบการควรปรับตัวอย่างไร ?

Adapt in Creator commerce

จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการที่โลกของ E-commerce เข้ามามีบทบาทมากขึ้นต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ดังนั้นแล้วผู้ประกอบการ นักการตลาด จึงจำเป็นต้องปรับตัวไปตามการเปลี่ยนแปลงนี้ อีกทั้งยังต้องมี Straegy ที่ดีเพื่อที่จะยืนอยู่ได้ในโลกแห่งการแข่งขันธุรกิจยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจ เพราะตลาดที่กำลังน่าสนใจตอนนี้คือตลาดจีน และตลาดนักท่องเที่ยวจีน ที่เป็นเจ้าแห่งแพลตฟอร์ม E-commerce  ดังนั้นแล้วก่อนที่แบรนด์จะใช้กลยุทธ์ “Creator commerce” นี้จึงต้องทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้เสียก่อน ถึงจะสามารถวางแผน และปรับตัวได้ทันตามเทรนด์

  • เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า 

ต้องเข้าใจพฤติกรรมของฐานลูกค้าใหม่ ในโลก E-commerce ผ่าน Data โดยเฉพาะแบรนด์ที่ต้องการขยายตลาดไปกลุ่มลูกค้าต่างชาติ เพราะพฤติกรรมลูกค้าในฐานออฟไลน์กับออนไลน์ อาจมีความแตกต่างกัน  หรืออาจเป็นคนละกลุ่มกันเลยก็ได้ เมื่อทำความเข้าใจได้แล้วก็จะช่วยทำให้วางภาพลักษณ์ของแบรนด์บนโลกออนไลน์ได้ตอบโจทย์กลุ่มลุกค้าตลาด E-commrece มากขึ้น 

  • ประเมินต้นทุนสำหรับการทำ Creator commerce

แม้กลยุทธ์นี้จะช่วยลดต้นทุนทางมีเดียได้ แต่ก็ต้องประเมินให้ดีว่าสามารถแบ่งเปอร์เซนต์จากสิ้นค้าเพื่อไปเป็นค่าคอมมิชชันให้กับ creator มากน้อยแค่ไหน เพื่อวางแผนเลือกเรท และจำนวนของ Creator ได้เหมาะสม ต่อไป

  • เลือก Creator ที่เหมาะสมกับแบรนด์

ต้องเลือก Creator ที่ Persona ชัดตรงกับแบรนด์ เพื่อที่จะได้สื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างตรงกลุ่มและเห็นภาพมากยิ่งขึ้น

  • ศึกษาเรื่องของ Marketing Technology (MarTech)

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง สำนวนนี้ก็สามารถนำมาใช้กับวงการ Digital marketing ได้เสมอ เพราะเรื่องของ Data เป็นสิ่งที่สำคัญมาก พราะจะช่วยทีมการตลาดทำงานได้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Data เพื่อเลือก Creator แพลตฟอร์มในการทำคอนเทนต์ ระบบแทร็กลิงก์ Tool เหล่านี้หากแบรนด์มีความเข้าใจก็จะได้ผลลัพธ์ทางการตลาดที่ดีและลดต้นทุนได้ไปในตัว

  • ช่องทางการติดต่อของแบรนด์กับ Creator

แบรนด์ต้องมีช่องทางไว้สำหรับติดต่อกับ Creator ที่ชัดเจนไม่ยุ่งยาก เพื่อที่จะได้ดึงดูด Creator และสื่อสารกันอย่างถูกต้อง

3 steps อยากทำ Creator Commerce ต้องเริ่มอย่างไร

หลังจากที่ทุกคนได้ทราบกันไปแล้วว่า Creator Commerce คืออะไร ทำไมน่าสนใจจนผู้ประกอบการต้องปรับตัว และควรรู้อะไรบ้างก่อนที่จะเลือกทำกลยุทธ์นี้ เราก็จะมาบอกเทคนิคเพิ่มเติมว่าถ้าอยากเริ่มต้องเริ่มอย่างไรบ้าง

  1. วาง Strategy ให้ดี

Research ว่าสินค้า หรือแบรนด์ควรมีแนวทางในการสื่อสารกับลูกค้าอย่างไร และหาว่าควรดึงจุดเด่นด้านไหนของแบรนด์มาสื่อสารเพื่อจะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ก็ต้องวางกลยุทธ์ในการเลือก Influencer ที่จะสามารถดึงเข้ามาเป็น Creator ได้ในระยะ Long term ให้ได้ และต้องคำนวณค่าตอบแทนสำหรับ Crator ให้สัมพันธ์กับการตั้งราคาสินค้าออกมาเหมาะสมซึ่งกันและกัน

  1. ยกระดับ Performance Marketing ให้มีประสิทธิภาพ

เนื่องจากปัจจุบันช่องทาง E-commerce มีอยู่หลากหลายช่องทาง ดังนั้นแล้วนอกจากแบรนด์ควรที่จะต้องหาช่องทางที่เหมาะสม ยังต้องหา Creator ให้เหมาะสมกับช่องทาง แล้วต้องดึงจุดเด่นฟีเจอร์ของแพลตฟอร์มมาปรับใช้กับแบรนด์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย เช่น การทำ In-app banner เพื่อให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น 

  1. ใช้ Data-driven เป็นส่วนสำคัญในการลดต้นทุน

แบรนด์ต้องเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสนใจ พฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ได้รู้ว่า แบรนด์ควรสื่อสารอะไร สื่อสารผ่านใคร ผ่านช่องทางไหน สื่อสารเมื่อไหร่ และเพื่อที่จะได้คำตอบว่า Influencer ที่เลือกมา จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หรือไม่ นอกจากนี้ข้อมูลเองก็ช่วยบ่งบอกผลลัพธ์ของการใช้ Influencer ในแต่ละครั้งได้ด้วย สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดต้นทุนทางการตลาด พร้อมกับได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ามากที่สุด 

ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการใช้ Creator ​Commerce

Atipa Shop

Creator Commerce Atipa shop
ขอขอบคุณภาพจาก IG: aoomtwp.official

Atipa แบรนด์เสื้อผ้าคุ้นหูสาวขาช็อปหลาย ๆ คน ซึ่งมีคุณ เฟิร์น-อติภา เทวบัญชาประเสริฐ เป็น CEO นับว่าเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ประสบความสำเร็จบนโลกของ E-commerce โดยคุณเฟิร์นเริ่มต้นธุรกิจจากความชื่นชอบเรื่องของแฟชันของตัวเอง โดยเลือกเจาะกลุ่มตลาดเสื้อผ้าสายฝอ และคนทุกไซซ์สามารถใส่ได้ โดยที่ขณะนั้น สายสายเดี่ยวและเสื้อรัดรูปยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก 

จุดเปลี่ยนสำคัญของแบรนด์ Atipa นั้นเริ่มจากการที่ได้เข้าร่วมร้านค้า TikTok shop ช่องทาง E-commerce ที่กำลังเป็นที่จับตามอง โดยได้ใช้ฟีเจอร์ Live เป็นหลัก ซึ่งคุณเฟิร์น การได้ลองผิดลองถูกบนแพลตฟอร์มนี้จนมียอดขายสูงสุด 5 ล้านบาท ภายในวันเดียว แต่การลองผิดลองถูกในที่นี้ คือการลองจากฐานข้อมูลที่ได้จากฟีเจอร์ “Live Center” ซึ่งเป็น Data Dashboard ของร้านค้า โดยในการ Live แต่ละครั้งจะมีทีมหลังบ้านคอยอ่าน Data เหล่านั้นเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ยอดวิว, ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่คนเข้ามาดูไลฟ์, สินค้าฮิตในตะกร้าที่ลูกค้าเตรียมกดซื้อ เมื่อจบไลฟ์ก็จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ต่อเพื่อให้ได้ข้อมูลไปต่อยอดทางการตลาด และการดีไซน์สินค้าต่อไป ทั้งนี้อีกใจความสำคัญของการ Live ในแต่ละครั้งคือการสื่อสารกับลูกค้าอย่างจริงใจ บอกทั้งข้อดี ข้อเสียของตัวสินค้า ใครเหมาะหรือไม่เหมาะกับสินค้าอะไร ทำให้สามารถดึงดูดใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี

จนสุดท้ายแบรนด์ Atipa ก็ได้เสริมทัพความแข็งแกร่ง ด้วยการดึง Influencer อย่างคุณ อิงฟ้า วราหะ และคุณชาล็อต ออสติน จากเวทีมิสแกรนด์ มาร่วมเป็น Creator ไลฟ์ขายของให้แบรนด์ ซึ่งช่วยดึงดูดลูกค้า สร้างยอดขาย  และสร้าง brand awareness ให้กับลูกค้าในโลกออนไลน์ได้อย่างก้าวกระโดด และล่าสุดก็ได้ดึงคุณอุ้ม ทวีพร พริ้งจำรัส จากเวทีมิสแกรนด์เช่นกัน มาช่วยไลฟ์ ซึ่งสร้างยอดขายไปทั้งหมด 490,000 บาท ภายใน 2 ชั่วโมงเลยทีเดียว นอกจากนี้ทางแบรนด์เองก็ได้เปิดโอกาสให้ Creator คนอื่น ๆ ได้ดึงสินค้าของแบรนด์ไปทำ Affiliate ด้วย ซึ่งแบรนด์เองก็ได้มีการสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารไว้สำหรับ Creator ไว้ด้วยเช่น 

จะเห็นได้ว่าแบรนด์ Atipa เป็นอีกแบรนด์ที่ได้พยายามปรับตัวไปกับโลกของ E-commerce โดยเริ่มจาก มี Strategy ที่ดี และดึง Data มาใช้พัฒนาต่อยอดทางการตลาดและสินค้า ที่สำคัญแล้วก็ได้ใชกลยุทธ์ Creator commerce เพื่อเพิ่มยอดขายให้ก้าวกระโดดขึ้นไปอีก จนเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จด้วยยอดขายหลัก 10 ล้านต่อเดือน

สรุป

เทรนด์การตลาดแบบ Creator Commerce เป็นเทรนด์สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องตามให้ทันเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีมากขึ้น และอยู่อยู่รอดในยุคดิจิทัลแบบนี้ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการ หรือนัการการตลาด เองก็ต้องมี Strategy ที่ดี ไปจนถึงรู้จักการใช้ Data เข้ามาช่วย เพื่อที่จะได้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า คือได้ผลลัพธ์ทางการตลาดตามที่ตั้งไว้ ไปพร้อม ๆ การลดต้นทุนการตลาดได้นั่นเอง


หรือสอบถามโดยตรงได้ที่  090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimize

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *