ถอดบทเรียนทำ Influencer marketing ใน Clubhouse ยังไงให้ Success

คงไม่มีใครไม่รู้จัก Clubhouse แอปพลิเคชันสุดฮอตที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเหล่านักการตลาด เจ้าของธุรกิจ เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ตลอดจนคนทั่วไปก็ต่างใช้ช่องทางนี้ในการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันถึงท็อปปิคต่าง ๆ ที่มีให้เลือกตามความสนใจ จากเริ่มแรกที่มีเพียงบรรดานักการตลาด นักธุรกิจที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ ดาราดังนักสร้างคอนเทนต์เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จนวันนี้แบรนด์ต่าง ๆ ก็เริ่มเห็นโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า และหันมาใช้เจ้าแอปพลิเคชัน Clubhouse นี้ในการสร้างการรับรู้แบรนด์และความใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น เกิดการทำ Influencer marketing ร่วมมือกันระหว่างแบรนด์กับอินฟลูเอนเซอร์ขึ้น

สำหรับแบรนด์ไหนที่สนใจอยากจะใช้ช่องทางนี้ทำการตลาด วันนี้ Kollective ขอเปิดเผย 5 เทคนิคดี ๆสำหรับทำ Influencer marketing ใน Clubhouse รับรองว่าถ้าทำตามนี้ แคมเปญการตลาดของคุณจะต้องประสบความสำเร็จแน่นอน

how to use influencer marketing on clubhouse

เลือก Moderator ที่ใช่มีชัยไปกว่าครึ่ง

ปกติแล้วในการเลือกเข้าห้อง Clubhouse ของผู้ฟัง มักจะเลือกจาก Moderator หรือ Speaker ในห้องนั้น ๆ ดังนั้นอินฟลูเอนเซอร์ที่แบรนด์ควรเลือก จึงควรจะเป็นคนที่อยู่ในความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เป็น KOL หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่จะพูดถึงเป็นอย่างดี มีความสามารถในการพูด สามารถดึงความสนใจหรือสร้างการมีส่วนร่วมให้กับคนในห้องได้ และแน่นอนว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่เลือกควรที่จะมีผู้ติดตามจำนวนมากเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงของผู้ฟัง ยิ่งมีผู้ติดตามมากเท่าไหร่ โอกาสที่ห้องนั้นจะได้รับความสนใจก็มีมากขึ้น แต่ก็ต้องมั่นใจได้ว่าผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ที่เลือกจะต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ หรือมีความสนใจในเรื่องประเด็นนั้นจริง ๆ

ดึงดูดความสนใจด้วยประเด็นและชื่อห้อง

นอกจาก Speaker ที่จะดึงดูดความสนใจจากคนฟังได้แล้ว ชื่อห้องและประเด็นที่เลือกนำมาพูดถึงก็สำคัญไม่แพ้กัน อย่างในช่องทางอื่นอย่าง Youtube หรือ Podcast เรายังสามารถที่จะใช้รูปปกหรือ Cover เข้ามาช่วยให้สะดุดตาได้ แต่ใน Clubhouse เราไม่สามารถใช้รูปพวกนี้ช่วยได้ การเลือกใช้ชื่อห้องจึงมีความสำคัญ ชื่อห้องที่เลือกควรจะต้องประชับ ใช้ประโยคสั้น ๆ ที่เข้าใจง่าย ใช้อิโมจิเข้ามาช่วย แล้วต่อท้ายด้วยชื่อแบรนด์เพื่อสร้างการรับรู้ นอกจากนี้เรื่องหรือประเด็นที่เลือกก็ควรจะเป็นสิ่งที่กำลังเป็นกระแส ปัญหาหรือประสบการณ์ที่กลุ่มเป้าหมายเจอ เน้นเป็นเนื้อหาที่ให้ประโยชน์กับผู้ฟังเป็นหลัก ไม่ควรยัดเยียดแบรนด์หรือเน้นการขายสินค้าจนมากเกินไป

เน้นสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ฟัง

ในการทำการตลาดใน Clubhouse แบรนด์ควรจะให้ความสนใจไปที่การสื่อสารแบรนด์และสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาฟังเป็นหลัก ประกอบกับตัวแอปพลิเคชันที่เน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนในห้อง ในกรณีที่แบรนด์ให้อินฟลูเอนเซอร์เป็นผู้พูดหลักในห้อง แบรนด์ควรเปิดโอกาสให้ตัวอินฟลูเอนเซอร์และผู้ฟังแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ไม่ควรโฟกัสให้อินฟลูเอนเซอร์พูดถึงแต่เรื่องของแบรนด์ แต่ถ้าเป็นในกรณีที่แบรนด์เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนกับอินฟลูเอนเซอร์ในลักษณะของ Partnership แบรนด์ก็ควรจะวาง Position ของตัวเองให้เข้าถึงง่าย พร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังสามารถแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกถึงความใกล้ชิดและรู้จักแบรนด์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้แบรนด์ยังสามารถใช้กิจกรรมอย่างการแจกส่วนลดหรือสินค้าพิเศษเพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างการมีส่วนร่วมได้อีกด้วย

clubhouse

เพิ่มประสิทธิภาพด้วยโซเชียลมีเดีย

เนื่องจากตัวแอปพลิเคชัน Clubhouse เองที่ค่อนข้างเป็นช่องทางปิด เฉพาะคนที่มีเพื่อนเข้าไปฟังในห้องหรือคนที่ติดตามคนพูดจึงจะสามารถเข้าถึงห้องหรือเห็นห้องจากหน้าฟีดตัวเองได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ช่องอื่นอย่างพวกโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram หรือ Twitter เข้ามาช่วยในการโปรโมทห้อง Clubhouse นอกจากนี้เมื่อจบ Clubhouse ยังสามารถนำเนื้อหามาสรุปและใช้ในการดึงดูดความสนใจหรือ Remarketing ไปยังกลุ่มที่มีความสนใจใกล้เคียงกับลูกค้าของเราได้ด้วย

เลือกเวลาให้เหมาะเพิ่มความปัง

นอกเหนือจากนี้ในการทำ influencer marketing ผ่าน Clubhouse ให้สำเร็จจะต้องดูเรื่องของเวลาด้วย ในการเลือกเวลาควรที่จะดูจากลักษณะของประเด็นที่เลือกมาพูดและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เราอยากพูดคุย

อย่างในช่วงเวลาเช้าประมาณ 8.00-9.00 จะเหมาะกับ Clubhouse ที่มีเนื้อหาสาระ เป็นการบอกเล่าหรืออัพเดทข่าวสารเพื่อเริ่มวันใหม่ ไม่เน้นการแลกเปลี่ยนความคิดมากนัก เพราะเป็นช่วงเวลาในการเดินทางไปทำงานและเรียน สำหรับ Clubhouse ที่ต้องการการพูดคุยแลกเปลี่ยนควรจะเป็นช่วงเวลาหลังเลิกงานตั้งแต่ 18.00 จนไปถึง 22.00 น. โดยเฉพาะช่วงเวลา 20.00 น. ที่เป็นช่วงเวลาที่มีคนเข้ามาใช้งานแอปพลิเคชันมากที่สุด

นอกจากนี้ระยะเวลาในการพูดก็มีผลต่อความสนใจเช่นกัน เพราะหากมีระยะเวลาที่นานเกินไปก็อาจจะทำให้ผู้ฟังในห้องหลุดโฟกัสจากประเด็นที่อินฟลูเอนเซอร์กำลังพูด ทำให้ไม่สามารถดึงผู้ฟังให้อยู่จนจบได้ ระยะเวลาที่พอเหมาะก็อาจจะอยู่ที่ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เลือกพูดด้วย หากเป็นประเด็นที่ค่อนข้างหนักและจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลานาน ก็ควรจะมีช่วงพักให้ผู้ฟังและผู้พูดได้ผ่านคลายสักครู่ก่อนกลับไปโฟกัสที่เนื้อหาต่อ

ด้วยจำนวนของผู้ใช้แอปพลิเคชัน Clubhouse ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักการตลาดจึงไม่ควรละเลยที่จะหันมาลองทำการตลาดในช่องทางนี้ ซึ่งการนำ Influencer marketing เข้ามาใช้ด้วยจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความเข้าถึงง่าย หากแบรนด์ไหนสนใจที่จะใช้ช่องทางนี้ในการทำ Influencer marketing ทาง Kollective เองก็สามารถช่วยคุณในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะและจัดการแคมเปญให้คุณได้จนจบ


สนใจให้ Kollective เป็นผู้ช่วยทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ลงทะเบียนได้ที่นี่เลย เพื่อให้ทีมงานติดต่อกลับ หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ 090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)

Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email: contact@kollective.one

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *