Recap 5 เทรนด์ Influencer Marketing 2024 ครึ่งปีแรก! เทรนด์ไหนได้ไปต่อ

ผ่านกันไปแล้วกับครึ่งปีแรกของปี 2024 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Influencer marketing ยังคงเป็นกลยุทธ์สำคัญของแบรนด์ในการโปรโมทสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ก็ตาม โดยเฉพาะในปีนี้ ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการการตลาด ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายของเศรษฐกิจที่ทำให้ทั้งแบรนด์ลดค่าใช้จ่ายลง หลายแบรนด์เริ่มที่จะทำ Influencer marketing เองมากขึ้น ในขณะเดียวกันการเข้ามาของ E-commerce ก็ทำให้พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไป ทั้งพฤติกรรมการเสพสื่อ และการใช้จ่ายที่แตกต่างจากปีที่แล้ว

จากการที่ Kollective ได้ทำงานร่วมกับลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรมกว่า 40 แบรนด์มาเมื่อต้นปี ทำให้เราเองก็เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งหลายสิ่งที่ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก จึงขอรวบรวม 5 เทรนด์สำคัญของ Influencer Marketing 2024 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปจนถึงปลายปีนี้ เพื่อให้แบรนด์ได้เห็นถึงแนวโน้ม พร้อมปรับตัวให้ทันก่อนหมดปี

Conversion-Driven Influencer Campaign หมดยุคสร้างการมองเห็น ทำแคมเปญ Influencer Marketing 2024 ต้องปิดยอดขายได้

conversion driven influencer marketing campaign

การทำ influencer marketing 2024 โดยเน้นที่การสร้าง awareness และ engagement ยังคงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าที่ต้องการได้แต่อาจจะไม่สามารถสร้างยอดขายได้อย่างที่ต้องการ หลายแบรนด์จึงให้ความสำคัญกับแคมเปญที่เน้น conversion ตั้งแต่เริ่มแรก ผ่านแผนการตลาดครบวงจร ที่นำ influencer เข้ามาเป็นส่วนสำคัญ พร้อมเสริมด้วยการทำการตลาดในช่องทางอื่นเพื่อเสริมให้เกิดยอดขายขึ้นจริง อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการวัดและติดตามผลลัพธ์ตั้งแต่ awareness, consideration และ conversion เพื่อให้แคมเปญมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้น

Hyper-Personalization
เข้าถึงลูกค้าอย่างแม่นยำด้วยการใช้ ข้อมูลเชิงลึก

hyper personalization influencer marketing 2024

ในยุคนี้ที่หลายแบรนด์ต่างทำคอนเทนต์ส่งให้ลูกค้าของตัวเอง จนบางครั้งคอนเทนต์ที่มีในตลาดเยอะหว่าจำนวนคนดูด้วยซ้ำ สิ่งที่ท้าทายคือแบรนด์จะทำยังไงให้คอนเทนต์ของตัวเองสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของตัวเองได้ตรงกลุ่มที่สุด สื่อสารไปถูกที่ถูกเวลา ซึ่งสิ่งนี้เองต้องอาศัยการใช้ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับลูกค้าแต่ละบุคคล เพื่อทำความเข้าใจและปรับแต่งเนื้อหาหรือกลยุทธ์ให้ตรงกับพฤติกรรมของลูกค้ามากที่สุด ซึ่งข้อมูลหลัก ๆ ที่แบรนด์ควรจะมีคือข้อมูล demographic ต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ จังหวัด การศึกษา รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจ พฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ พฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้า รวมถึงประวัติการซื้อสินค้าที่ผ่านมา

เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ก็จะสามารถวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้คอนเทนต์แสดงผลไปยังหน้าฟีดของกลุ่มลูกค้าที่ต้องการได้แม่นยำขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการในช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องการ เช่น การขึ้น pop-up banner แสดงถึงโปรโมชั่นบนแพลตฟอร์มขณะที่ลูกค้ากำลังเลือกซื้อสินค้า หรือการโปรโมทสินค้าด้วยโฆษณาไปยังลูกค้าที่เคยมีการค้นหารายละเอียดของสินค้าหรือเคยเข้าเว็บไซต์ของแบรนด์ แต่ยังไม่ได้ทำการสั่งซื้อ ซึ่งจะทำให้แบรนด์มีโอกาสในการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าจริง

Shoppertainment Model ดันยอดขายผ่านความบันเทิง อนาคตใหม่ของการขายของ

shoppertainment model

ในช่วงปีที่ผ่านมา เราเห็นถึงกระแสของการขายออนไลน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอกจากที่ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์มากขึ้นแล้ว แต่ละแพลตฟอร์มเองก็มีการแข่งขันกันผ่านการพัฒนาฟีเจอร์และลูกเล่นต่าง ๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้งานมากขึ้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นการขายสินค้าในราคาคุ้มค่า ตอบโจทย์ด้วยการชำระเงินผ่านช่องทางที่หลากหลาย การจัดส่งที่รวดเร็ว (Functional Value) แต่สิ่งที่ตามมาคือเมื่อลูกค้าเลือกตัดสินใจซื้อสินค้าจากราคาและความคุ้มค่าจากในแพลตฟอร์ม ก็ทำให้ Brand Engagement ลดลง เพราะลูกค้ามีทางเลือกในการซื้อสินค้าราคาที่ถูกขึ้น

ด้วยสถานการณ์นี้เอง จึงทำให้เกิดการขายสินค้าในรูปแบบใหม่ อย่าง Shoppertainment Model ที่เป็นการผสมระหว่าง Commerce และ Entertainment เน้นการสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สนุกสนาน แปลกใหม่และน่าดึงดูด เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ ผ่านการมอบความบันเทิงให้กับผู้ชมในขณะที่ขายสินค้าไปด้วย

ซึ่งกลยุทธ์นี้จะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยการทำ Creative Influencer Marketing หรือการใช้กลุ่ม KOL หรือผู้มีอิทธิพลทางความคิดในการสร้างสรรค์เนื้อหาที่น่าสนใจ สนุกสนานและดึงดูดผู้ชมให้ดูคอนเทนต์จนจบ โดยคอนเทนต์ที่นำเสนอจะมีการโปรโมทสินค้า แบรนด์และบริการโดยตรง ซึ่งรูปแบบในการทำคอนเทนต์ที่กำลังเป็นที่นิยมจะมีทั้งการทำ VDO รีวิวสินค้า สอนวิธีการใช้งานจริง แบบจริงใจและสนุกสนาน การทำ Live streaming ผ่านช่องทาง E-commerce เพื่อนำเสนอโปรโมชั่นและตอบคำถามเรียลไทม์

Live Commerce Marketing จับตามองกลยุทธ์ E-commerce มาแรง

influencer marketing 2024 live commerce marketing

Live Commerce Marketing หรือการขายของแบบไลฟ์สดกำลังกลายเป็นกลยุทธ์ E-commerce ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน กลยุทธ์นี้ผสมผสานระหว่าง live streaming และการขายสินค้า โดยผู้ขายจะใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, TikTok และ Shopee Live เพื่อไลฟ์ขายสินค้าให้กับลูกค้าแบบเรียลไทม์

โดยสิ่งที่ทำให้ Live Commerce Marketing กลายมาเป็นกลยุทธ์ที่มาแรงที่สุด คือ

  • ลักษณะของคอนเทนต์ที่อยู่ในรูปแบบของวิดีโอ ทำให้มีความน่าสนใจและสามารถดึงดูดผู้คนได้มากกว่ารูปและข้อความ
  • รูปแบบของคอนเทนต์ที่เป็น interactive ทำให้ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมกับสินค้าได้มากขึ้น รวมถึงสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้โดยตรง
  • ลดขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านการที่แบรนด์สามารถรีวิวสินค้าและตอบคำถามลูกค้าได้โดยตรง รวมถึงมีฟีเจอร์ที่ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้ทันทีขณะรับชม
  • มีต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับการทำการตลาดในรูปแบบอื่น โดยแบรนด์สามารถใช้สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตเพื่อเริ่มต้น live streaming ได้เลย

โดยรวมแล้ว Live Commerce Marketing เป็นกลยุทธ์ E-commerce ที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจที่ต้องการดึงดูดความสนใจ กระตุ้นยอดขาย และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ธุรกิจต่าง ๆ ที่สามารถนำ Live Commerce Marketing ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Expanding into Global Market เดินหน้าเจาะตลาดต่างชาติ โอกาสใหม่ของธุรกิจ

expanding into global market

จากเดิมที่หลายแบรนด์เชื่อว่าต้องเติบโตให้ได้ก่อน มีเงินลงทุนจำนวนมากถึงจะสามารถขยายตลาดไปยังต่างประเทศได้ แต่ในปัจจุบันที่โลกออนไลน์กำลังทำให้ทุกคนบนโลกสามารถที่จะติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันได้ ทำให้การขยายตลาดไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป อีกทั้งตลาดไทยมีสัญญาณการชะลอตัวจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น กำลังซื้อที่ลดลง การแข่งขันที่รุนแรง และข้อจำกัดทางนโยบายต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของหลายธุรกิจ แต่สำหรับบางแบรนด์ การขยายตลาดต่างประเทศอาจเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ดีในการขับเคลื่อนการเติบโต

รูปแบบในการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศก็จะมีตั้งแต่การส่งสินค้าออกไปขาย หรือการขยายสาขาไปเปิดในประเทศนั้น ๆ แต่ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่แบรนด์ต้องคำนึงถึงคือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถวางกลยุทธ์เข้าถึงที่ตอบโจทย์กับลูกค้าที่สุด เพราะลูกค้าในแต่ละประเทศก็มีวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน อย่างตัวอย่างที่ชัดเจนสุดคือการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต่างแตกกัน เช่น ลูกค้าในจีนใช้ Douyin ลูกค้าในไทยใช้ TikTok

แต่กลยุทธ์ออนไลน์ก็ยังเป็นวิธีการหลักในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในแต่ละประเทศได้ นอกเหนือจากการทำคอนเทนต์ด้วยภาษาเฉพาะ หรือการยิงโฆษณาไปยังพื้นที่ที่ต้องการ การใช้ Influencer ก็เป็นกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์การขายสินค้าไปยังต่างประเทศที่สุด เพราะเป็นการโปรโมทผ่านคนในประเทศนั้น ๆ ที่นอกจากจะสามารถสื่อสารด้วยภาษาเฉพาะได้แล้ว ก็ยังมีความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย รู้ว่าวัฒนธรรมของประเทศเขาเป็นอย่างไร และรู้ว่า key message ไหนที่จะดึงดูดความสนใจและทำให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของแบรนด์ได้ดีที่สุด


หรือสอบถามโดยตรงได้ที่  090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email: contact@kollective.one

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *