จับตาเทรนด์ Digital marketing มาแรงในปี 2024 ตามทันก่อน โตเร็วกว่า!

การรู้จักติดตามเทรนด์และแนวโน้มของ Digital marketing จะช่วยให้ธุรกิจมีความเกี่ยวข้องในโลกปัจจุบันที่ตลาดและความต้องการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การรู้จักปรับตัวให้ทันสมัยจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าความพยายามทางการตลาดของคุณสอดคล้องกับความกังวลของผู้บริโภคในปัจจุบันหรือไม่ อีกทั้งการเรียนรู้และนำเทรนด์ใหม่ๆ มาปรับใช้จะสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้ เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าลูกค้ามักจะคิดว่าธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและกลยุทธ์ที่ใหม่และทันสมัยจะดูเป็นมืออาชีพและเชื่อถือได้มากขึ้น วันนี้ Kollective จะมาพาคุณไปรู้จักกับเทรนด์การตลาดที่มาแรงและน่าจับตามองมากที่สุดในปี 2024 ถ้าพร้อมแล้วไปอัพเดทเทรนด์กันเลย

Hyper-personalization

Hyper Personalization เป็นรูปแบบขั้นสูงของ Personalization ในด้านการตลาดและการมีส่วนร่วมของลูกค้า มันเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งเนื้อหาผลิตภัณฑ์และบริการให้เข้ากับลูกค้าแต่ละรายด้วยข้อมูลที่มีความแม่นยำและต้องมีความเกี่ยวข้องที่สูงมาก โดยเป้าหมายของ Hyper Personalized คือการสร้างประสบการณ์การตลาดแบบตัวต่อตัว เพื่อทำให้ลูกค้าแต่ละคนรู้สึกว่าข้อความการตลาดหรือผลิตภัณฑ์ได้รับการออกแบบมาสำหรับพวกเขาโดยเฉพาะ

โดยคุณสมบัติหลักของ Hyper Personalization ได้แก่:
Individualized Content : แทนที่จะแบ่งลูกค้าออกเป็นประเภทกว้างๆ เปลี่ยนเป็นการปรับแต่งส่วนบุคคลที่มุ่งเน้นการสร้างเนื้อหาสําหรับลูกค้าแต่ละคน โดยยึดตามพฤติกรรมในอดีต ความชอบ และลักษณะของลูกค้าแต่ละราย

Real-Time Adaptation : ทำการตลาดโดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อปรับเนื้อหาหรือผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับกิจกรรมหรือความสนใจของลูกค้า ณ ขณะนั้น เช่น เมื่อลูกค้าโต้ตอบกับเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มของเราอยู่การแนะนำสินค้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามการเรียกดูปัจจุบันของลูกค้าหรือกิจกรรมในรถเข็น

Predictive Analytics : ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลและเครื่องมืออัลกอริธึมมาช่วยคาดการณ์ความต้องการและความชอบของลูกค้า เพื่อช่วยในการนำเสนอเนื้อหาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น

User-Generated Data : อาศัยข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยตรงจากลูกค้า เช่น ความชอบของผู้ใช้ ประวัติการซื้อ และคำติชม เพื่อให้การแนะนำที่มีความแม่นยำสูงในครั้งต่อๆ ไป

Rise of Social Commerce

โซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce) คือ การผสมผสานระหว่างอีคอมเมิร์ซ (การช็อปปิ้งออนไลน์) และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เป็นแนวคิดที่ทำให้ผู้ใช้สามารถซื้อสินค้าหรือบริการผ่านประสบการณ์โซเชียลมีเดียได้โดยตรงแทนที่จะเปลี่ยนเส้นทางผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ภายนอกหรือร้านค้าออนไลน์ นั่นหมายถึง Social Commerce จะช่วยทำให้ประสบการณ์การช็อปปิ้งราบรื่นและจบภายในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

ซึ่งจะเห็นจากหลายสถิติในช่วงนี้ชี้ว่า E-Commerce เริ่มเติบโตน้อยลง โดยมี Social Platform มาแทนที่และกำลังเติบโตขึ้นโดยเฉพาะ TikTok Shop ที่ทำการตลาดผ่านหลักการ Impulse Buying ที่กระตุ้นการซื้อได้ดีกว่าจากการดูคลิปวิดีโอ และยังมีการทำ Affiliate แบ่งรายได้ให้กับครีเอเตอร์ทำให้แพลตฟอร์มโตขึ้นได้อย่างมหาศาล

โดยการเติบโตของ Social Commerce มีปัจจัยหลักๆ ดังนี้
In-App Shopping : ด้วยฟังก์ชั่นการใช้งานที่ผู้ใช้สามารถเรียกดูและซื้อผลิตภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้จะเกิด conversion ผ่านปุ่ม “ซื้อ” หรือฟังก์ชั่นการช็อปปิ้งที่บูรณาการให้เข้ากับประสบการณ์ของแพลตฟอร์มนั้นๆ

Shoppable Posts: แบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างโพสต์ที่มีป้ายสินค้าแปะอยู่ ทำให้ผู้ใช้สามารถคลิกที่แท็กเหล่านี้เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมและทำการซื้อได้อย่างง่ายดาย

Live Shopping: บางแพลตฟอร์มมีฟังก์ชั่นช้อปปิ้งสตรีมมิ่งที่ทำให้อินฟลูเอนเซอร์หรือแบรนด์สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้แบบแบบเรียลไทม์ มีการตอบคำถาม และรับคำสั่งซื้อโดยตรงระหว่างการถ่ายทอดสดได้เลย

Social Recommendations: เมื่อทุกอย่างอยู่บนพื้นที่โซเชียลผู้ใช้จึงสามารถเห็นว่าเพื่อนหรือคนรู้จักของเราซื้อหรือแนะนำผลิตภัณฑ์ใดบ้าง ซึ่งเป็นการสร้าง community กระตุ้นความน่าเชื่อถือให้กับประสบการณ์การช็อปปิ้งได้มากขึ้น

Omni-Activation

เทรนด์นี้เริ่มจากการที่ปัจจุบันเราจะเห็นว่าหลายแบรนด์เริ่มจะไม่ยิงสื่อแบบเดียวกันในหลาย Touch Point แต่เริ่มเปลี่ยนมาสื่อสารแบรนด์ผ่านหลากหลายช่องทาง โดยไม่แบ่งว่าจะเป็น Offline หรือ Online แต่ให้ความสำคัญกับ impact ที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคตลอดทั้ง Journey มากกว่า ซึ่งการตลาดแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับลูกค้าไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหน โดยใส่ใจถึงเรื่องความสอดคล้องและความเกี่ยวข้องในการส่งข้อความและการสร้างแบรนด์ นั่นจึงทำให้การตลาดแบบนี้เป็นมากกว่าการตลาดแบบหลายช่องทาง เพราะความพยายามที่จะรวมการเดินทางของลูกค้าเข้าด้วยกัน และทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงประสบการณ์ที่ต่อเนื่องและครบวงจรได้มากที่สุด

ตัวอย่างเช่น ระบบ MyMagic+ ซึ่งเป็นโครงการที่ Disney นำกลยุทธ์ทาง Big Data. เข้าไปใช้ในการบริหารงานสวนสนุก ประกอบไปด้วย “FastPass+, MagicBands และ My Disney Experience ซึ่งโครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการยกระดับประสบการณ์ของผู้เข้าพักและเพิ่มความพึงพอใจโดยรวม ผ่านการบริการที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพราะดิสนีย์สามารถปรับแต่งบริการให้ตรงตามความต้องการและพฤติกรรมของผู้เข้าพักได้อย่างวมบูรณ์ ทำให้สร้างประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัวและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งความเป็นส่วนตัวและความราบรื่นไร้รอยต่อเป็นจุดเด่นของการตลาดแบบ Omni-Activation นั่นเอง

Immersive and interactive digital marketing

Immersive and interactive marketing คือการสร้างประสบการณ์ทาง Digital marketing ที่มีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับผู้ชม โดยมักจะใช้เทคโนโลยีและการโต้ตอบเพื่อทำให้ผู้บริโภคเป็นผู้มีส่วนร่วมมากกว่าที่จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เฉยๆ ซึ่งเทรนด์การตลาดแบบนี้สามารถสร้างภาพจำของแบรนด์ให้กับผู้บริโภคได้มากกว่าการตลาดแบบเดิมๆ และมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำและมีส่วนร่วม ซึ่งจะสร้างความประทับใจไม่รู้ลืมให้กับผู้ชม ซึ่งมีแนวทางและตัวอย่างการทำการตลาดที่น่าสนใจดังนี้

1. ใช้ Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR)
ตัวอย่างเช่น แอป AR ของ IKEA ที่ช่วยให้ลูกค้าเห็นภาพว่าเฟอร์นิเจอร์จะดูเป็นอย่างไรในบ้านของพวกเขา โดยการซ้อนทับเฟอร์นิเจอร์เสมือนจริงลงในพื้นที่จริง

2. ทำการตลาดแบบ Gamificatio
ตัวอย่างเช่น McDonald มีแคมเปญทำเกม Monopoly ที่ให้ลูกค้ารวบรวมชิ้นส่วนเกมเพื่อรับรางวัล เป็นตัวอย่างคลาสสิกของ Gamification ในด้านการตลาดที่ยังใช้ได้ถึงปัจจุบัน

3. ทำการตลาดเชิงประสบการณ์
ตัวอย่างเช่น แคมเปญดิ่งพสุธา Stratos Jump ของ Red Bull ที่จัดแคมเปญเชิญชวนให้ผู้กล้ามากระโดดลงมาจากขอบอวกาศ เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่ท้าทาย เป็นเอกลักษณ์ และเข้าถึงประสบการณ์ได้สูง ทำให้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

4.  Virtual Events and Webinars
ตัวอย่างก็จะเห็นได้จากบริษัทหลายแห่งหันมาใช้ Virtual Event และการสัมมนาผ่านเว็บสำหรับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ การประชุม รวมถึงการประชุมทางการศึกษา โดยจัดให้มีเซสชันถามตอบเชิงโต้ตอบและการมีส่วนร่วมแบบเรียลไทม์กับผู้ชม

5. Interactive Advertising
ซึ่งจะเห็นได้จากป้ายโฆษณาแบบโต้ตอบตามถนนหรือแลนด์มาร์คสำคัญ ที่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของผู้คนที่เดินผ่านไปมาหรืออนุญาตให้ผู้คนมีส่วนร่วมในเนื้อหา ซึ่งในปัจจุบันเป็นเรื่องธรรมดาและนิยมเป็นอย่างมากในการทำการตลาดเจาะกลุ่มคนเมือง

Influencer marketing

เทรนด์ Digital marketing สุดท้ายที่แบรนด์ไหนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะต้องยอมรับว่าการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์เป็นสนามที่มีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทุกแบรนด์ต้องลงมือทำเพื่อสร้างสีสันและเข้าถึงกลุ่มคนให้ได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นการติดตามแนวโน้มและกระแสล่าสุดมีความสำคัญต่อความสำเร็จของแคมเปญเป็นอย่างมาก โดยเทรนด์ Influencer marketing ที่กำลังน่าจับตามองมีดังนี้

1. Micro และ Micro Influencer คุ้มและเข้าถึงได้มากกว่า
Influencer ขนาดเล็กที่มีผู้ชมเฉพาะกลุ่มกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมสูง
เพราะอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้มักจะนำเสนอเนื้อหาที่แท้จริง น่าเชื่อถือ และสร้างโอกาสการซื้อได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้นสําหรับแบรนด์

2. ต้องนำเสนอความจริงและเน้นความโปร่งใส
ในยุคสมัยที่การรีวิวเกินจริงมีอยู่เกลื่อนโซเชียลผู้บริโภคกำลังมองหาความจริงจากคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์ อินฟลูเอนเซอร์ที่เปิดเผยตรงไปตรงมากเมื่อต้องโฆษณาสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์ และมีบุคลิกที่จริงใจ เข้าถึงได้มักจะสร้างความน่าเชื่อถือได้ดีกว่า

3. สร้างความร่วมมือระยะยาวเพื่อรักษาฐานลูกค้า
หลายแบรนด์ไม่ได้ทำแคมเปญแบบครั้งเดียxวจบ ยังมีการพัฒนาแคมเปญหรือผูกโยงคอนเทนต์กันต่อไป เพราะฉะนั้นการรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวกับอินฟลูเอนเซอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและจริงใจกับผู้บริโภคมากขึ้น

4. ต้องมีตัวแทนที่หลากหลาย
หลายอุตสาหกรรมกําลังมุ่งสู่ความหลากหลายและการรวมตัวกันมากขึ้น ทำให้หลายแบรนด์กําลังมองหาผู้มีอิทธิพลจากภูมิหลังที่แตกต่าง รวมถึงการมองหาผู้มีอิทธิพลที่จะเข้าถึงชุมชนขนาดเล็กหรือพวก sub culture ได้นั่นเอง

และทั้งหมดนี้คือเทรนด์ Digital Marketing ในปี 2024 ที่จะมีประโยชน์ต่อการจับกระแสและสามารถนำไปพัฒนาการตลาดของคุณต่อไปได้ ซึ่งการทำการตลาดที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพคือการตลาดที่ Kollective เชื่อมั่น ลงมือทำ และพัฒนาอยู่เสมอ 

สำหรับเจ้าของแบรนด์หรือนักการตลาดการที่ต้องการผู้ช่วยที่มีความเชี่ยวชาญมาช่วยดูแลจัดการให้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน ดำเนินงาน และติดตามผล ไว้ใจให้เราช่วยผลักดันผลลัพธ์ให้คุณภายใต้การทำงานกับเครือข่าย Influencer ที่ยิ่งใหญ่ พาคุณจับทุกกระแสของตลาดด้วยอิทธิพลของ Influencer


หรือสอบถามโดยตรงได้ที่  090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email:contact@kollective.one

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *