รวม 10 เครื่องมือการตลาดสำคัญที่จะช่วยให้การวัดผล Influencer marketing เป็นเรื่องง่าย

ในปัจจุบันการทำ Influencer marketing หรือจ้างนักรีวิวกลายเป็นช่องทางหลักในการโปรโมทสินค้าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ทำให้หลาย ๆ แบรนด์ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์นี้มากขึ้น แต่หนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้นักการตลาดหลายคนต้องปวดหัวคือการวัดผลลัพธ์ทางการตลาดจากกลยุทธ์นี้ เพราะนอกจากจะต้องวุ่นวายกับการติดต่อขอข้อมูลอินฟลูเอนเซอร์ ก็ต้องเจอปัญหาการใช้เครื่องมือการตลาดมากมายเพื่อวัดผลให้ครบ แถมหลายครั้งก็ไม่สามารถวัดได้ถึงยอดขาย 

วันนี้ Kollective เลยอยากพามารู้จัก 10 เครื่องมือสำคัญที่นักการตลาดห้ามพลาด ที่จะช่วยให้การวัดผลแคมเปญ Influencer marketing ของคุณง่ายและเป็นระบบมากขึ้น

Google Analytics

เครื่องมือการตลาด google analytics influencer marketing tools

นักการตลาดหลายคนคงคุ้นเคยกันอยู่แล้วกับ Google Analytics ที่เป็นเครื่องมือการตลาดสำคัญในการดู Performance ของเว็บไซต์ ซึ่งสำหรับในการทำแคมเปญ Influencer marketing เจ้า Google Analytics เองก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน นอกจากจะสามารถเช็คได้ว่าคนที่เข้ามายังเว็บไซต์มาจากช่องทางหรือคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์คนไหน ยังดูได้อีกว่าคอนเทนต์ไหนได้รับการตอบรับที่ดีที่สุด ไปจนถึงดูข้อมูลได้ว่าเกิดการซื้อขายขึ้นผ่านอินฟลูเอนเซอร์หรือไม่ 

ประกอบกับข้อมูลอื่น ๆ ที่สามารถเก็บได้ไม่ว่าจะเป็น Demographics, Interests หรือ Behaviors ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ว่าคนที่เข้ามาใช่กลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่ แล้วพฤติกรรมของคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านลิงก์ของอินฟลูเอนเซอร์เป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเข้ามาผ่านลิงก์แล้วไปหน้าไหนต่อ กดออกจากเว็บไซต์ กดเข้าไปดูรายละเอียดที่หน้าอื่น หรือกดสั่งซื้อสินค้า ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าในการทำแคมเปญครั้งต่อไปควรจะปรับปรุงอะไรเพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายกว่าเดิม

Facebook insight

ช่องทางที่ใช้ในการดูผลลัพธ์ของแต่ละแคมเปญ จะขึ้นอยู่กับช่องทางโซเชียลมีเดียที่เลือกใช้ เพราะแต่ละช่องทางก็จะมีฟังก์ชัน Insight ของแต่ละช่องทาง อย่างช่องทางอันดับหนึ่งที่มีคนใช้เยอะที่สุดอย่าง Facebook ก็มีซึ่งฟังก์ชันที่ใช้ในการดูข้อมูลเชิงลึกเช่นกัน โดยจะเรียกว่า Facebook Insight ซึ่งสามารถกดดูได้จากหน้า Facebook Business 

โดย Facebook insight จะบอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Facebook ไม่ว่าจะเป็นยอด Reach, Engagement, Link click และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโพสต์ของอินฟลูเอนเซอร์ นอกจากนี้ยังสามารถดูข้อมูลของผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ได้ด้วย เช่น ช่วงเวลาที่ผู้ติดตามใช้งาน Facebook เยอะที่สุด ลักษณะของผู้ติดตาม อย่างเพศ อายุ และที่อยู่ รวมไปถึงการกดปุ่มหรือพฤติกรรมของผู้ติดตาม โดยในปัจจุบันสามารถดูผลลัพธ์ได้เป็นกราฟ หรือดาวน์โหลดออกมาเป็นหน้า Report หรือเป็น Excel เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลขั้นต่อไป

Youtube Analytics

เครื่องมือการตลาด youtube analytics influencer marketing tools

นอกจาก Facebook และ Instagram ที่เป็นช่องทางหลักในการทำการตลาดโปรโมทสินค้าแล้ว ยังมี Youtube ที่เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่ช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วย โดยในการดูผลลัพธ์ของช่องทางนี้ นอกจากจะดูจากยอดวิวที่เกิดขึ้นในหน้าวิดีโอ จำนวนคนกดชอบและไม่ชอบวิดีโอ หรือความคิดเห็นใต้วิดีโอแล้ว ในหน้า Youtube Insight ที่เป็นหนึ่งในฟังก์ชันของ Youtube Studio จะทำให้เราสามารถดูได้ว่าคนที่เข้ามาดูวิดีโอมีพฤติกรรมยังไงบ้าง ดูคลิปจนจบไหม หรือดูคลิปถึงส่วนที่พูดถึงช่องทางการซื้อขายหรือยัง 

นอกจากนี้ยังมีกราฟที่แสดงให้เห็นเทรนด์ของจำนวนคนที่เข้ามาดูวิดีโอ มีการแสดงให้เห็นถึงจำนวนคนกดลิงก์ใต้วิดีโอเพื่อไปหน้าซื้อขายสินค้ากี่คน หรือคนที่เข้ามาดูคลิปนี้เข้ามาจากช่องทางไหน ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าคอนเทนต์นี้เป็นคอนเทนต์คุณภาพที่สามารถสร้างยอดขายได้ไหม หรือต้องการปรับปรุงคอนเทนต์ในส่วนไหน เช่น คอนเทนต์มีความยาวเกินไปหรือไม่น่าสนใจจนทำให้คนดูไม่จบ หรือควรมีการแปะลิงก์ไปยังหน้าซื้อขายเพิ่มเติม ในช่วงที่วิดีโอมีจำนวนคนดูมากที่สุด

Hootsuite

การรับฟังฟีดแบกหรือการถูกพูดถึงบนช่องทาง Social media ต่าง ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแท็กเพื่อน หรือการใช้แฮชแท็กในการกล่าวถึงแคมเปญหรือสินค้า ยิ่งในการทำ Influencer marketing ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถเห็นถึงการพูดถึงของสินค้าที่เกิดจากการรีวิวของอินฟลูเอนเซอร์ได้ ทำให้รู้ว่าในสังคมออนไลน์ คอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์คนไหนทำให้เกิด Positive feedback และ Negative feedback บนโลกออนไลน์ ซึ่งการพูดถึงเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลไปถึงการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ แคมเปญการตลาดที่เข้าถึงได้ตรงจุด รวมไปถึงการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น 

โดยเครื่องมือยอดฮิตสำหรับ Social listening คงหนีไม่พ้น Hootsuite ที่สามารถช่วยจัดการและติดตามผลบน Social media wfhทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Youtube หรือ Twitter ก็ตาม โดยสามารถกรองข้อมูลได้ผ่านคีย์เวิร์ด แฮชแท็ก รวมไปถึงโลเคชั่น ช่วยให้ประหยัดเวลาในการไล่หาข้อมูลเหล่านี้เอง ซึ่งอาจจะพลาดข้อมูลสำคัญไปได้

Kollective Match

เครื่องมือการตลาด kollective match influencer marketing tools

แพลตฟอร์มสำหรับจัดการแคมเปญ Influencer marketing พร้อมฟังก์ชัน Report ที่จะช่วยรายงานผลลัพธ์ของแคมเปญ โดยจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 หน้าหลัก ๆ คือ Dashboard และ Influencer Report

Dashboard จะช่วยติดตามและรายงานผลลัพธ์การทำแคมเปญอินฟลูเอนเซอร์ตลอดทั้งแคมเปญ ประกอบไปด้วยข้อมูลหลัก ๆ อย่าง View, Engagement, Engagement timeline, CPE, CPM ของอินฟลูเอนเซอร์

Influencer Report เป็นการรายงานผลลัพธ์ของอินฟลูเอนเซอร์ในแคมเปญทั้งหมด ตั้งแต่ Reach, Engagement ไปจนถึง Conversion โดยจะมีสรุปทั้งผลลัพธ์ภาพรวมแบบ Marketing Funnel เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแคมเปญ และสรุปผลลัพธ์อินฟลูเอนเซอร์แบบรายคน เพื่อวิเคราะห์ว่าควรใช้อินฟลูเอนเซอร์คนไหนบ้างในแคมเปญถัดไป 

ทดลองใช้ Kollective Match ได้ที่ https://match-demo.kollective.one/

Pixel Code

Pixel คือโค้ดประเภทหนึ่งที่ใช้ในการ Tracking เพื่อติดตามและเรียนรู้พฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ใช้ในการทำโฆษณา Retargeting ไปยังกลุ่มคนที่เคยเข้าดูเว็บไซต์ และวัดผลโฆษณา ซึ่งในแต่ละ Social media ก็จะมี Pixel code ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Facebook pixel, Line tag, Twitter pixel หรือ Tiktok pixel โดยโค้ดเหล่านี้จะต้องนำไปติดตั้งในหน้าเว็บไซต์

โดยโค้ดเหล่านี้จะช่วยรวบรวม และเรียนรู้พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์และบนหน้า Facebook เพื่อใช้การยิงโฆษณามีความแม่นยำมากขึ้น เช่น ยิงโฆษณาไปหากลุ่มคนที่มีแนวโน้มหรือพฤติกรรมตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ สามารถวัดผลผ่าน Event ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Lead submit, Add to Cart หรือ Subscribe และสามารถวัดผลลึกไปถึง ROAS (Return on ad spend) ได้

UTM

เครื่องมือการตลาด utm influencer marketing tools

UTM ย่อมาจาก Urchin Tracking Module ซึ่งเป็นเครื่องมือการตลาดพื้นฐานที่ใช้ในการทำ Website tracking เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมของคนที่เข้ามาชมเว็บไซต์ โดยเป็นการสร้างลิงก์ที่เป็นชุดคำสั่งเพื่อให้ Google Analytics สามารถนำข้อมูลไปเก็บบันทึกได้อย่างเป็นระบบ ช่วยให้สามารถติดตามผลได้ง่ายขึ้นเป็นรายแคมเปญ รายอินฟลูเอนเซอร์ รายช่องทาง รวมไปถึงดูได้ว่าเกิด Conversion หรือการซื้อขายได้ผ่านช่องทางหรืออินฟลูเอนเซอร์คนไหน 

โดยหน้าตาของ UTM จะเป็นลิงก์ขนาดยาว ที่บรรจุด้วยลิงก์ของเว็บไซต์ที่เราต้องการเก็บข้อมูล ประกอบกับชื่อข้อมูลที่เรากำหนดเอง อย่าง Source (ช่องทางที่ใช้), Medium (วิธีการที่ผู้ชมเข้ามา เช่น โฆษณา คอนเทนต์ แบนเนอร์) และ Campaign (ชื่อแคมเปญหรือชื่ออินฟลูเอนเซอร์) 

ซึ่งสามารถสร้างเองได้ง่าย ๆ โดยการพิมพ์เอง หรือใช้เครื่องมือช่วยในการกรอกข้อมูลเพื่อสร้างลิงก์ ผ่าน Bitly หรือ Campaign URL builder https://ga-dev-tools.web.app/campaign-url-builder/ 

Bitly

สำหรับแบรนด์ไหนที่ไม่ได้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง หรือต้องใช้เว็บไซต์ในการปิดยอดขายก็มีอีกหนึ่งตัวช่วยอย่าง Bitly ในการติดตามผลที่เกิดจากอินฟลูเอนเซอร์ หลายคนอาจจะรู้จัก Bitly ในฐานะของเครื่องมือการตลาดที่ช่วยย่อ Link ต่าง ๆ ให้มีขนาดสั้นลงเพื่อความสะดวกเเละสวยงาม แต่จริง ๆ แล้ว Bitly ยังสามารถเก็บข้อมูลสถิติได้ด้วย โดยสามารถดูได้ว่าอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนสร้าง Linkclick ได้มากเท่าไหร่ เกิด Linkclick ขึ้นที่ช่องทางไหน ประเทศหรือจังหวัดไหน โดยสามารถดูแนวโน้มได้ในแต่ละวัน ทำให้รู้ว่าเทรนด์ของคอนเทนต์นั้นเป็นอย่างไรบ้าง

Google Sheet

เครื่องมือการตลาด google sheets influencer marketing tools

Google Sheet หนึ่งในเครื่องมือสามัญประจำตัวของนักการตลาดหลายคน นอกจากจะช่วยในการบันทึกจัดเก็บข้อมูลแล้ว หลาย ๆ ฟังก์ชันหรือสูตรบน Google Sheet ก็ช่วยให้นักการตลาดสามารถจัดเรียงและกรองข้อมูลเพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์ผลได้ง่ายขึ้น อย่างในการทำ Influencer marketing เอง การรวบรวมข้อมูลไว้ใน Google sheet ก็จะช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของอินฟลูเอนเซอร์ได้เช่นกัน แต่สิ่งสำคัญคือการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน และมีเป้าหมายว่าในการวิเคราะห์ครั้งนี้ เราต้องการดูเรื่องไหนเป็นพิเศษ

ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการดูความคุ้มค่าของการจ้างอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคน ก็อาจจะตั้งตารางเปรียบเทียบ Cost per Acquisition, Cost per Impression, Cost per Engagement, Cost per Conversion ซึ่งการเลือกใช้ก็จะอิงจาก Objective ของแคมเปญ เช่น การสร้างการมองเห็นหรือการสร้างยอดขาย เทียบกับค่าจ้างของอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนที่ใช้ไปเพื่อเปรียบเทียบได้ว่าแต่ละ 1 Action ที่อินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนสร้างได้มีราคาเท่าไหร่ คนไหนสร้างผลลัพธ์ได้ในราคาที่คุ้มค่ากว่า

นอกจากนี้ยังช่วยวิเคราะห์ได้ว่าควรปรับปรุงกลยุทธ์ยังไงบ้าง เช่น การตั้งตารางแบ่งตาม Funnel ของอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคน ว่าสร้าง Impression, Reach, Engagement และ Conversion ได้เท่าไหร่บ้าง มี Funnel ไหนที่ต้องปรับปรุง เช่น ถ้า Reach สูงแต่ Engagement ต่ำ ก็ทำให้รู้ได้ว่า คอนเทนต์อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่เลือกมามีแต่ผู้ติดตามที่ไม่มีคุณภาพ แต่ในทางกลับกัน ถ้า Engagement เยอะแต่ Reach น้อย ก็แสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์ที่สร้างมามีคุณภาพแต่ขาดการเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ ก็จะเป็นหนึ่งสัญญาณว่าถึงเวลาใช้ Digital ads เข้ามาเสริม

Google Data Studio

ขั้นตอนสุดท้ายในการวิเคราะห์แและวัดผลแคมเปญคือการนำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลให้เข้าใจ หรือที่เรียกว่า Data Visualization ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับแคมเปญเข้าใจผลลัพธ์ได้ตรงกันและมองเห็นว่าจุดไหนควรได้รับการปรับปรุง และควรจะปรับปรุงอย่างไร โดยเครื่องมือการตลาดที่แนะนำก็คือ Google Data Studio เพราะนอกจากจะสามารถเลือกข้อมูลมาใช้ได้ตามต้องการแล้ว ยังง่ายในการดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น Google Analytics, Facebook Insight หรือ Google Sheet มาใช้ด้วย คำสั่งหรือฟังก์ชันที่มีก็ค่อนข้างครบครัน เช่น การสร้างกราฟ การสร้างแผนภูมิ หรือการเปรียบเทียบผลลัพธ์รายวัน รายเดือน หรือรายปี และยังมีเทมเพลตที่สามารถหยิบมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องออกแบบใหม่ให้เสียเวลา


หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ 090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email:contact@kollective.one

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *