เพิ่มยอดขายแบบปัง ๆ ! แค่ใช้ Social media influencer ให้ถูกแพลตฟอร์ม
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์หรือการทำ Influencer marketing ในปัจจุบันนั้นเป็นที่นิยมและแพร่หลายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเข้าไปในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใดก็จะต้องเห็นเหล่า Social media influencer รีวิวสินค้า หรือโพสต์โปรโมทสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไปไม่มากก็น้อย
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าและบริการของเราควรจะทำ Influencer Marketing ผ่านแพลตฟอร์มใดและควรเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ในแต่ละแพลตฟอร์มอย่างไร เพื่อจะทำให้ยอดขายทะลุเป้าและเกิดประสบความสำเร็จมากที่สุด วันนี้ Kollective ได้รวบรวมและอัพเดตข้อมูลเหล่านั้นมาสรุปให้เรียบร้อยแล้ว จะเป็นอย่างไรตามไปดูกันได้เลย !
Facebook เป็นช่องทางโซเชียลมีเดียที่มีคนใช้มากที่สุดและมีช่วงอายุของผู้ใช้ที่กว้างที่สุด เนื่องด้วยจำนวนและความกว้างของช่วงอายุผู้ใช้ทำให้ Facebook กลายเป็นช่องทางที่จะช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์ในวงกว้าง ประกอบกับตัวแพลตฟอร์มเองที่เอื้อต่อการสร้าง Engagement อย่างการแชร์ต่อและการคอมเมนต์
ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
เป็นช่องทางที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก เรียกได้ว่ามีทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะใช้เพื่อติดตามและติดต่อกับคนรู้จัก เพื่อน ครอบครัวและคนรู้จัก ลักษณะของคนบนแพลตฟอร์มนี้จะมีความจริงจังกับชีวิตและเปิดเผยความเป็นตัวเองผ่านการพิมพ์สเตตัส กดไลก์เพจหรือกดแชร์คอนเทนต์ต่าง ๆ ไปยังหน้าฟีดของตนเอง
ฟังก์ชัน/ ฟีเจอร์
นอกเหนือจากการโพสต์สเตตัส ภาพและวีดีโอแล้ว Facebook ยังมี Live และ Stories ที่หลาย ๆ ธุรกิจนำมาใช้ในการโปรโมทสินค้าและบริการมากขึ้น
รูปแบบคอนเทนต์
เหมาะสำหรับลงคอนเทนต์ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพ วีดีโอ หรือข้อความที่มีความยาว แต่คอนเทนต์ที่ได้รับการสนใจมากที่สุดมักจะเป็นโพสต์ข้อความที่มาพร้อมภาพประกอบหลาย ๆ ภาพในลักษณะของ Album post
การเลือกใช้ Influencer
ด้วยความหลากหลายและปริมาณของคอนเทนต์ที่มีจำนวนมากตลอดทั้งวัน ดังนั้นการเลือกใช้ Facebook Influencer จึงควรเลือกคนที่มีเพจของตัวเองหรือมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากเพื่อให้เกิดการรับรู้ในแบรนด์ หรือใช้ Influencer ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น การท่องเที่ยว เทคโนโลยี หรือความงาม ,ใช้ Influencer ที่มีความสามารถหรือความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคอนเทนต์ให้เป็นกระแสได้
ปัจจุบัน Instagram กลายเป็นโซเชียลมีเดียหลักของหลาย ๆ คน และเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญของแบรนด์ในการทำการตลาดและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยหน้าที่หลักของช่องทางนี้คือการสร้างภาพลักษณ์และติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง
ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
Instagram เป็นช่องทางหลักในการติดตามแบรนด์และอัพเดตไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นโดยเฉพาะช่วงอายุ 18-24 ปี ด้วยพฤติกรรมของคนรุ่นนี้ที่ไม่ต้องการเสพเนื้อหาเยอะ ๆ แต่เน้นเป็นการดูรูปหรือดูวีดีโอสั้น ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์
ฟังก์ชัน/ ฟีเจอร์
จากที่แต่ก่อนทำได้เพียงโพสต์ภาพหรือวีดีโอพร้อมกับข้อความสั้น ๆ ปัจจุบัน Instagram ได้เพิ่มฟีเจอร์ดึงดูดผู้ใช้ขึ้นมา ซึ่งฟีเจอร์เหล่านี้ก็ถูกอัปเดตให้เอื้อต่อแบรนด์มากขึ้น เช่น
- Stories และ Highlight
- Live
- Video
- Reels
- ปุ่ม Swipe up ใน Stories ที่ลิงก์ไปยังหน้าเว็บไซต์
- สติ๊กเกอร์ใน Stories ที่ลิงก์ไปยัง Delivery platform หรือแนะนำร้านค้า
รูปแบบคอนเทนต์
โฟกัสอยู่ที่ภาพถ่ายและวีดีโอพร้อมข้อความสั้น ๆ เป็นหลัก ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการทำการตลาด เช่น ถ้าต้องการสร้าง Awareness ก็จะเหมาะกับการใช้ Reels หรือถ้าต้องการ Engagement การใช้ Stories ที่มีลูกเล่นให้ผู้ติดตามสามารถมีส่วนร่วมได้ อย่างการตอบคำถามหรือควิซ
การเลือกใช้ Influencer
เป็นช่องทางที่อาศัยภาพและวีดีโอในการแสดงให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์ จึงเหมาะกับ Instagram Influencer ที่มีความสามารถ ความถนัดหรือความชื่นชอบในการถ่ายภาพ มีไลฟ์สไตล์ที่ชัดเจน มีทักษะในการแต่งภาพและคุมโทนที่น่าสนใจ แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องทำความเข้าใจกลุ่มคนที่ติดตาม Influencer คนนั้น ๆ เพื่อที่จะได้ทราบว่ากลุ่มคนที่ติดตามใช่กลุ่มเป้าหมายเราหรือไม่
Youtube
ช่องทางหลักสำหรับคนที่ต้องการเสพสื่อวีดีโอ โดยมีผู้ใช้งานทุกช่วงอายุ เหมาะสำหรับคอนเทนต์วีดีโอที่มีความยาว อย่างการรีวิวสินค้า การบอกเล่าประสบการณ์หรือการให้คำแนะนำ และด้วยความยาวที่ไม่จำกัดทำให้ Influencer สามารถสร้างสรรค์รูปแบบของคอนเทนต์ออกมาได้อย่างเต็มที่
ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
ด้วยข้อจำกัดของ YouTube ที่ให้ลงได้เฉพาะคลิปวีดีโอ กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นคนที่ต้องการเข้ามาชมวีดีโอ รายการทีวี ฟังเพลง วีดีโอ How-to หรือหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่สนใจ โดยผู้ใช้มีทุกช่วงอายุตั้งแต่เด็กไปยันอายุ 65 ปีขึ้นไป
ฟังก์ชัน/ ฟีเจอร์
ปัจจุบัน Youtube กลายเป็นช่องทางในการให้ข้อมูล รีวิวสินค้าและสื่อสารกับผู้บริโภคแบบเรียลไทม์อีกหนึ่งช่องทาง
- วีดีโอ
- Live streaming
- YouTube Short
รูปแบบคอนเทนต์
Youtube เป็นแหล่งรวมวีดีโอทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอขนาดยาว, Live streaming และล่าสุดกับ YouTube Short ที่ไว้ลงวิดีโอแบบสั้นๆเช่นเดียวกันกับ TikTok และ Instagram
การเลือกใช้ Influencer
ด้วยรูปแบบคอนเทนต์ที่เป็นวีดีโอจึงเหมาะกับ YouTube Influencer หรือ YouTuber ที่มีแนวทางเป็นของตัวเอง เช่น ร้องเพลง ทำอาหาร แฟชั่น บิวตี้ ไลฟ์สไตล์ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูดผู้บริโภคหรือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง โดย Influencer ในช่องทางนี้สามารถใช้การ Tie-in สินค้าได้ หากวีดีโอมีความน่าสนใจ
แพลตฟอร์มสำหรับผู้ที่ต้องการอัพเดตข่าวสารรวดเร็วแบบ Real time ในขนาดสั้นๆ ย่อยง่าย มีอะไรเกิดขึ้นก็สามารถติดตามได้ด้วยแฮชแท็กต่างๆ คนส่วนใหญ่ใช้ช่องทางนี้ในการตามเทรนด์หรือความเป็นไปในปัจจุบัน ส่วนในด้านของการตลาดช่องทางนี้เหมาะในการสร้างการรับรู้แบรนด์และสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย
ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
ผู้ใช้ Twitter คือคนทั่วไป ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น นักข่าวจนไปถึงนักธุรกิจที่ต้องการติดตามและอัพเดตข่าวสารแบบเรียลไทม์ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มักจะใช้ช่องทางนี้ในการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่าน Hashtag ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น ๆ
ฟังก์ชัน/ ฟีเจอร์
Twitter แตกต่างจากช่องทางอื่นด้วยฟีเจอร์ Retweet และการกด Favorite ที่เน้นให้ขึ้นเฉพาะไทมไลน์ของผู้ใช้และผู้ที่ติดตามเท่านั้น
อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของ Twitter คือการใช้ Hashtag ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามและแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ได้สะดวกขึ้น ซึ่งหลายแบรนด์สามารถใช้ Hashtag นี้ในการสร้างกระแสหรือสร้างแคมเปญเพื่อโปรโมทสินค้าและให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมด้วยได้
นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์สนทนาเสียง Spaces ที่ให้ผู้ใช้งานสนทนาผ่านเสียงได้แบบเรียลไทม์ ฟีเจอร์ Communities บนทวิตเตอร์เพื่อเชื่อมต่อผู้คนที่มีความสนใจในสิ่งเดียวกันให้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
รูปแบบคอนเทนต์
ภาพ วีดีโอและข้อความขนาดสั้นไม่เกิน 280 ตัวอักษร นอกจากนี้ยังสามารถสร้างห้องเพื่อพูดคุยได้คล้ายกับ Clubhouse ผ่านฟีเจอร์ Spaces
การเลือกใช้ Influencer
สำหรับ Twitter Influencer ที่มีความโดดเด่นและชัดเจนในเรื่องของคอนเทนต์หรือ Mindset เน้นเป็นคนที่ติดตามเทรนด์อยู่เสมอ โดยเนื้อหาจะต้องมีความน่าสนใจ ใช้คำพูดที่ตรงไปตรงมา เข้าถึงได้ง่าย สำหรับช่องทางนี้หากใช้วิธีการ Tie-in อาจจะทำให้ความน่าเชื่อถือในแบรนด์และ Influencer ลดลง
Tiktok
แพลตฟอร์มยอดฮิตที่กำลังมาแรงในยุคนี้ สามารถสร้างกระแสและสร้างการรับรู้ได้มากที่สุด เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก ผ่านการนำเสนอข้อมูลสินค้าแบบครีเอทีฟ สนุกสนานเพื่อดึงดูดความสนใจ
ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
คนที่ใช้ TikTok ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุระหว่าง 16 – 24 ปี โดยเฉพาะกลุ่มคน Gen-Z ซึ่ง TikTok กลายเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ ที่ชื่นชอบอะไรที่เสพง่าย รวดเร็วและทันกระแส นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม Millenials ทำให้TikTok เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้หลากหลายวัย สามารถพบปะกับคนใหม่ ๆ เพื่อนๆ ผู้คนหลากหลายวัย จากสังคมนี้ได้
ฟังก์ชัน/ ฟีเจอร์
TikTok มีเครื่องมือสร้างคอนเทนท์หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Challenge และ Hashtag ที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ หรือตัวแอปเองที่มี Algorithm แนะนำวิดีโอที่คาดว่าผู้ใช้จะสนใจได้อีกด้วย ช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น
สิ่งที่ทำให้ TikTok น่าสนใจกว่าแอปอื่น ๆ คือผู้ใช้สามารถสร้างคอนเทนท์ที่สร้างสรรค์ได้มากมายหลายแบบ โดยใช้ Effect ต่าง ๆ ประกอบกับการใช้ Hashtag ให้เป็นกระแสในโลกออนไลน์ได้
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชัน Live เพื่อให้ผู้ใช้งานได้สื่อสารกับผู้ติดตามแบบเรียลไทม์ และ TikTok Stories ที่ต่างจาก Instgram Stories โดยจะโชว์คอมเม้นท์ให้เห็นแบบสาธารณะ สามารถเข้ามาเลื่อนดูได้ รวมไปถึง TikTok Shop ช่องทางการซื้อขายบน TikTok ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาอีกด้วย
รูปแบบคอนเทนต์
TikTok จะโดดเด่นเรื่องของการสร้างคอนเทนต์ประเภทวิดีโอขนาดสั้น คอนเทนต์ส่วนใหญ่จะเป็นคอนเทนต์ประเภท Entertain โดยความยาวของคลิปสามารถมีความยาวได้ตั้งแต่ 15 วินาที ถึง 3 นาที
การเลือกใช้ Influencer
คอนเทนต์มีความหลากหลายมาก ๆ ดังนั้นในการเลือกใช้ TikTok Influencer ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยแนวทางในการทำคอนเทนต์ควรจะแสดงความเป็นตัวเองของตัวอินฟลูเอนเซอร์ เน้นการสื่อสารข้อความที่กระชับ และเน้นการสร้างคอนเทนต์ที่มีความครีเอทีฟและโดดเด่นเพื่อดึงดูดความสนใจ
การใช้ Social media influencer ใช้เหมาะ
จะเห็นได้ว่าแต่ละแพลตฟอร์มนั้นมีข้อแตกต่างและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งความสนใจและจุดประสงค์ในการเข้าไปใช้แพลตฟอร์มของตัวผู้ใช้งานก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย นอกจากนี้แต่ละแพลตฟอร์มยังมีการเพิ่มฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ๆ ที่เอื้อต่อการทำคอนเทนต์ให้หลากหลายและซัพพอร์ตการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นในการเลือกทำ Influencer Marketing จึงไม่ใช่แค่ต้องเลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะกับตัวสินค้าเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการเลือกแพลตฟอร์มในการนำเสนอให้ถูกต้องและเหมาะสมกับแบรนด์อีกด้วย หากเลือกใช้แพลตฟอร์มที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายผลลัพธ์ของการทำ Influencer Marketing อาจจะได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะกับตัวจุดประสงค์ของแบรนด์และตัวกลุ่มเป้าหมาย
- บทความเกี่ยวกับความรู้การตลาดเพิ่มเติม
- Introduction to Influencer marketing กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย ทำการตลาดผ่านนักรีวิว
- ทวนความจำ มาทำความรู้จัก influencer marketing
- ไขข้อสงสัย Influencer มีกี่ประเภท? พร้อมเผยกลยุทธ์การบอกต่อที่ได้ผลลัพธ์เกินคาด
- KOL vs Influencer เลือกแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับแบรนด์?
- Influencer สายไหนเหมาะกับธุรกิจการเงินและการศึกษา?
- เพิ่มยอดจองทันใจ! ใช้ Influencer โรงแรมก็เอาอยู่
- Influencer Marketing ทางเลือกใหม่ เพิ่มยอดขาย กระจายฐานลูกค้า
หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ 090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email: contact@kollective.one