Influencer สายไหนเหมาะกับธุรกิจการเงินและการศึกษา?
ในปัจจุบัน Influencer Marketing กลายมาเป็นทางเลือกใหม่ของหลายแบรนด์ที่ต้องการทำแคมเปญการตลาดเพื่อโปรโมตสินค้าหรือบริการของตัวเอง และด้วยจำนวนผู้เล่นมากขึ้นในสนามนี้ การทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ในยุคนี้จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในอุตสาหกรรมบันเทิง หรือธุรกิจความสวยความงามเท่านั้น แต่ยังขยายไปถึงวงการธุรกิจการเงินและการศึกษาที่ยังมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังเป็นอุตสาหกรรมที่อินฟลูเอนเซอร์เข้ามามีบทบาทได้มาไม่นานมากนัก แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่แบรนด์จะต้องเลือกคนที่เหมาะมากที่สุด Kollective จึงขอพาไปดู influencer การเงินและการศึกษาเพื่อเป็นอีกแนวทางช่วยโปรโมทสินค้าให้แบรนด์
Influence สายเฉพาะทางที่เป็น Key Opinion Leader (KOL)
Key Lead Opinion (KOL) คือตัวจริงของวงการนั้น ๆ โดยเฉพาะ เพราะเป็นทั้งคนที่ไม่เพียงแต่จะเป็นที่รู้จักและมีอิทธิพลต่อผู้ติดตามมากมายเท่านั้นแต่ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งอีกด้วย และด้วยความเป็นเหมือนกูรูที่น่าเชื่อถือ ทำให้กลุ่มนี้สามารถโน้มน้าวใจคนดูได้เป็นอย่างดีแม้ว่าหลายคนอาจจะไม่ได้มีผู้ติตามเป็นจำนวนมากถึงหลักล้าน ข้อได้เปรียบสำหรับการใช้ KOL สำหรับแบรนด์ธุรกิจการเงินและการศึกษาคือสามารถกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้ ตัวอย่างของ Influencer การเงินนี้ มีให้พบเห็นบนหลายแพลตฟอร์มและยังมีแนวทางการทำคอนเทนต์ที่แตกต่างเฉพาะทางไปอีก ยกตัวอย่างเช่น
สายธุรกิจการเงิน (Financial Business)
TaxBugnoms
เพจ Facebook ที่เน้นนำเสนอเนื้อหาให้ความรู้เกี่ยวกับภาษีจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ สำหรับ เด็กจบใหม่ วัยทำงานทุกคน และ ผู้ประกอบการธุรกิจรายเล็กหรือหญ่ที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ข้อกำหนด ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยเพจจะคอยอัปเดตข้อมูลข่าวสารด้านการยื่นภาษี รวมไปถึง การวางแผนการเงินระยะยาวสำหรับมนุษย์เงินเดือนอีกด้วย
The Money Coach
Youtube แชนแนลของโค้ชหนุ่ม ที่จะมาช่วยให้คำปรึกษาจากทางบ้าน เกี่ยวกับการวางแผนและบริหารเงินเพื่อจัดสรรปันส่วนเงินให้มีประสิทธิภาพ และยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุน อสังหาริมทรัพย์ หรือหุ้น
Kim Property Live
อีกหนึ่ง Influencer การเงินบนช่องทาง Youtube ที่มีคอนเทนต์หลากหลายประเภทที่ทันสมัยมากขึ้น เช่น อัปเดตข่าวสารเกี่ยวโลกของการเงิน อย่าง สกุลเงิน Cryptocurrency เช่น Bitcoin และคาดการณ์เทรนด์การเงินในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีคอนเท้นต์เกี่ยวกับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์กับความทั่วไปด้านการเงินอีกด้วย
Forex Thailand
แชนแนลยูทูปที่เน้นไปนำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับการลงทุนแบบ Foreign Exchange หรือ การลงทุนในตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นหลัก ช่วยแนะนำการเทรด Forex สำหรับทั้งมือใหม่และมือโปร
การศึกษา (Education)
Dek-D.com
แฟนเพจเว็ปไซต์ที่อยู่คู่เด็กนักเรียนไทยมาอย่างยาวนาน เต็มไปด้วยข่าวสารด้านการเรียน สอบเข้า ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์วัยมัธยมและมหาวิทยาลัย
Admission Premium
เพจ Facebook ที่เป็นช่วยแนะแนวแนวทางการศึกษาต่อขั้นอุดมศึกษาด้วยข้อมูลของการสมัคร Admission อัปเดตข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนที่ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ประชาสัมพันธ์กิจกรรม และ เคล็ดลับการเรียนดีๆ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนมัธยมปลายกำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย
Step Abroad Education & Visa Specialist
Youtube Channel ให้ความรู้ด้านการศึกษาต่อต่างประเทศที่ออสเตรเลีย ให้ความรู้ตั้งแต่ในขั้นตอนการสมัครเรียน ทำวีซ่านักเรียน ไปจนถึงแชร์ประสบการ์ณการเป็นนักเรียนนอกว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร
Peanut Butter
เนื้อหาส่วนใหญ่ช่อง Peanut Butter จะเน้นไปที่ทริกต่าง ๆ สำหรับการเรียนด้วยตัวเอง อย่างเช่นวิธีการทำสรุป ทำอย่างไรให้สามารถจำเนื้อหาที่เรียนให้มีประสิทธิภาพในขณะที่เรียนออนไลน์ หรือ จดโน้ตให้สวยและได้ประโยชน์จาก IPad และยังมีวิดีโออย่าง Study with me ที่ให้ผู้ชมมาจำลองประสบการณ์การอ่านหนังสือร่วมกับคนอื่นราวกับกำลังติวสอบไปด้วยกันกับเพื่อน
Paperboat
แชนแนลของคุณพ่อที่มีซีรี่ส์คอนเทนต์ชื่อว่า S-Cool Zone ที่จะมาแนะนำโรงเรียนต่าง ๆ รีวิวสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนเป็นแนวทางสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการมอบการศึกษาที่ดีที่สุดให้กับลูก
Influencer สายไลฟ์สไตล์และอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยี บันเทิง
ถึงจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญแบบ KOL และ มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินและการศึกษาโดยตรง แต่อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ถือเป็นอีกกลุ่มที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม ด้วยแนวทางการนำเสนอคอนเทนต์ที่กว้าง ทำให้สามารถเข้ากันได้กับแบรนด์ที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้ด้วย และเพราะกลุ่มนี้มักจะมีฐานผู้ติดตามที่เข้าถึงคนหมู่มาก ทำให้แคมเปญการตลาดที่ทำร่วมกันยังมีโอกาสได้ Awareness หรือยอด Engagement ที่มากกว่า นำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์สายไลฟ์สไตล์หรืออื่น ๆ อาจจะไม่ได้มีความรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ทางการเงิน หรือ รู้ลึกเรื่องการศึกษาในปัจจุบันเช่นเดียวกับ KOL สายนี้ เมื่อต้องช่วยโปรโมตสินค้าหรือบริการข้ามสายที่ตัวเองถนัด คอนเทนต์จากอินฟลูเอนเซอร์ก็จะทำให้แบรนด์ได้ความเห็นที่จริงใจของคนนอก ช่วยขยายลูกค้าเป้าหมายใหม่ได้มากพอ ๆ กับทำแคมเปญผ่าน KOL เลย ในปัจจุบันตัวอย่างของการรีวิวข้ามสายมีให้เห็นมากมาย อย่างเช่น
Influencer ที่ข้ามสายไปทำคอนเทนต์ด้านธุรกิจการเงิน
Spin9
Influencer สายเทคโนโลยีที่เน้นรีวิว Gadget เจ๋ง ๆ อย่างผลิตภัณฑ์มือถือ แทบเลต คอมพิวเตอร์ หรือรถรุ่นใหม่ล่าสุด และบริการสุดหรูของไฟล์ทจากนานาสายการบิน ด้วยแนวทางการนำเสนอคอนเทนต์ที่ช่วยให้ชีวิตสะดวกขึ้น ทำให้อู๋ Spin9 ยังเป็น Influencer การเงินที่ยังสำคัญสำหรับกลุ่มผู้ชมที่เป็นคนวัยทำงาน โดยในช่องเองก็เคยทำคอนเทนต์รีวิวข้ามสายไปบริการด้านการเงินและการลงทุนที่อาศัยเทคโนโลยีซึ่งเป็นด้านที่ทางอินฟลูเอนเซอร์ถนัดอีกด้วย
PetchsWorld
อินฟลูเอนเซอร์ระดับ Micro ที่ทำคอนเทนต์หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษซึ่งตรงกับสายอาชีพ หรือรีวิวไลฟ์สไตล์ อู๋ Spin9 ยังมีความสนใจด้านการเทรด Cryptocurrency และคอยแบ่งปันประสบการณ์ผ่านแอคเคาท์ของตัวเองเสมอ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์สามารถร่วมงานกับธุรกิจด้านการเงินที่มองเห็นโอกาสของการรีวิวข้ามสายได้
Influencer ที่ข้ามสายไปทำคอนเทนต์ด้านการศึกษา
PEACHII
แชนแนล PEACHII หรือที่รู้จักกันในชื่อ #สตีเฟนโอปป้า เป็นแชนแนลที่นำเสนอไลฟ์สไตล์ของคุณพีชชี่ เจ้าของแชนแนล กับแฟนชาวอังกฤษ เน้น แชร์ประสบการณ์ใช้ชีวิตต่างประเทศ และทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการเรียนภาษากับชาวต่างชาติในรูปแบบที่สนุกสนานและเป็นกันเอง เนื่องจากตัว Content Creator เองทำงานด้านเอเจนซี่ที่แนะแนวการเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษอยู่แล้ว ทำให้ขอบข่ายการทำคอนเท้นต์กว้างขึ้นไปกว่าเดิมจนสามารถรีวิวเพื่อโปรโมต สถาบันสอนภาษา โรงเรียนประจำ หรือมหาวิทยาลัย ในอังกฤษได้
Boomtharis
บูม ธริศ เป็นอีกยูทูปเบอร์ที่เป็นที่รู้จักจากเนื้อหาด้านไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรีวิวสถานที่ อย่างอสังหาริมทรัพย์พร้อมกับเรื่องราวเบื้องหลังที่น่าสนใจ หรือ แนะนำอาหารจานเด็ดจากประสบการณ์นักกินตัวยง ซึ่งหนึ่งในคอนเซปต์การทำคอนเทนต์ช่องคือ สถานที่ X เรื่องราว ทำให้ Boomtharis มีโอกาสรับงานข้ามสายเพื่อแนะนำสถาบันการศึกษาอย่างเจาะลึกอย่างที่เคยทำกับสถานที่อื่น ๆ
จากตัวอย่างทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่แบรนด์ในสายธุรกิจการเงินและการศึกษานำมาใช้สำหรับการทำแคมเปญ Digital Marketing มีเยอะมาก และไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียว ในปัจจุบันเองหลายแบรนด์ก็ได้เลือก Influencer ข้ามสาย เพื่อโอกาสใหม่ ๆ ทางการตลาด หากยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกสายไหน ทาง Kollective มีบริการเครื่องมือทางการตลาดอย่าง Kollective Match ที่ใช้ชุดข้อมูลมาประมวลผลเพื่อเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมที่สุด พร้อมฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้งานได้ประเมินผลลัพธ์ก่อนเริ่มทำแคมเปญจริงกับติดตามวัดผลเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป และยังมีบริการ Kollective Solution ที่ช่วยสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดในทุกขั้นตอนตั้งแต่เลือกอินฟลูเอนเซอร์จากทีมงานที่มีประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ
- บทความเกี่ยวกับความรู้การตลาดเพิ่มเติม
- Introduction to Influencer marketing กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย ทำการตลาดผ่านนักรีวิว
- ทวนความจำ มาทำความรู้จัก influencer marketing
- ไขข้อสงสัย Influencer มีกี่ประเภท? พร้อมเผยกลยุทธ์การบอกต่อที่ได้ผลลัพธ์เกินคาด
- KOL vs Influencer เลือกแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับแบรนด์?
- เพิ่มยอดจองทันใจ! ใช้ Influencer โรงแรมก็เอาอยู่
- เพิ่มยอดขายแบบปัง ๆ ! แค่ใช้ Social media influencer ให้ถูกแพลตฟอร์ม
- Influencer Marketing ทางเลือกใหม่ เพิ่มยอดขาย กระจายฐานลูกค้า
หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ 090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email:contact@kollective.one