อัพเดต 7 เทรนด์ Influencer marketing ไทย ที่จะเกิดขึ้นในปี 2022

จากคอนเทนต์ก่อนหน้าที่เราได้พูดคุยถึงสถิติการทำ Influencer marketing ในปี 2021 นี้ เราจะเห็นได้ว่าแนวโน้มของอินฟลูเอนเซอร์ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลายแบรนด์นำ Influencer marketing มาใช้เป็นช่องทางหลักในการโปรโมทสินค้าและบริการ คำถามสำคัญในตอนนี้จึงไม่ใช่ว่าแบรนด์ควรจะจ้างอินฟลูเอนเซอร์ไหม หรืออินฟลูเอนเซอร์จะคุ้มค่าไหม แต่คือควรจะทำยังไงเพื่อให้แคมเปญอินฟลูเอนเซอร์มีประสิทธิภาพกว่าเดิม Kollective จึงได้วิเคราะห์แนวโน้มของ Influencer marketing ไทยในปี 2022 เพื่อเป็นแนวทางในการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพ สร้างผลลัพธ์และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าเดิม

influencer marketing ไทย 2022

ผนึกกำลัง “อินฟลูเอนเซอร์ตัวเล็ก-ตัวใหญ่” ทำแคมเปญปัง

หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์เพื่อทำแคมเปญควรดูจากวัตถุประสงค์เป็นหลัก อย่างถ้าต้องการสร้าง Awareness ก็อาจจะต้องเลือกอินฟลูเอนเซอร์เบอร์ใหญ่อย่าง Macro influencer หรือถ้าต้องการสร้างยอดขายก็ควรจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์ตัวเล็กอย่าง Micro influencer ทำให้หลายแบรนด์เลือกที่จะใช้เพียงอินฟลูเอนเซอร์ประเภทใดประเภทหนึ่งไปเลย

แต่เมื่อย้อนกลับมามองในเรื่องของ Conversion funnel เราจะเห็นได้ว่าการที่เลือกใช้เพียงอินฟลูเอนเซอร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง ทำให้แบรนด์ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ การใช้อินฟลูเอนเซอร์ตัวใหญ่และตัวเล็กในการทำแคมเปญหนึ่ง จึงเหมือนเป็นการสร้าง Conversion funnel ขนาดย่อม ๆ

เริ่มจากการสร้าง Awareness ด้วย Macro influencer เพื่อดึงคนมาที่ Top of the funnel (TOFU) ให้มากที่สุด ก่อนจะใช้ Micro influencer ในการดึงคนที่สนใจให้ลงมาสู่ Middle of the funnel (MOFU) และส่งต่อไปยัง Bottom of the funnel (BOFU) เพื่อปิดยอดขาย

ทำแคมเปญระยะยาวเพื่อสร้างผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง

การทำแคมเปญระยะสั้นย่อมหมายถึงการได้ผลลัพธ์ทางการตลาดในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่นเดียวกัน ในการทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพ สร้างภาพจำและผลลัพธ์ที่ดี ควรจะเริ่มมองถึงการทำแคมเปญในระยะยาว (Always-on marketing) เพื่อมั่นใจได้ว่าในช่วงเวลาตลอดทั้งปีนั้น จะสามารถสร้างการรับรู้ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในทุกเวลาที่ต้องการ 

ในแง่ของความคุ้มค่า การทำแคมเปญในระยะยาวไม่ได้เพิ่มต้นทุนมากอย่างที่คิด กลับเป็นการสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่างตัวคอนเทนต์เอง ทางแบรนด์ก็สามารถนำคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์มาใช้ได้ตลอดทั้งปี ในการยิงโฆษณาเพื่อกระตุ้นยอดขายเองก็เกิดการ Learning ทำให้สามารถ Optimize ผลลัพธ์ได้ดียิ่งขึ้น และสำคัญที่สุดคือการมีข้อมูลเกี่ยวกับแคมเปญที่มากพอ สามารถนำมาใช้ปรับกลยุทธ์ให้ดียิ่งขึ้น

ในอีกมุมหนึ่ง การทำแคมเปญในระยะยาวกับอินฟลูเอนเซอร์เพียงไม่กี่คน ทำให้แบรนด์สามารถสื่อสารภาพลักษณ์ของตัวเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผ่านความความผูกพันธ์ระหว่างแบรนด์ อินฟลูเอนเซอร์  และผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ที่ต่างเข้าใจแบรนด์อย่างลึกซึ้งการถ่ายทอดเนื้อหาที่ออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ประกอบกับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้าผ่านการพูดถึงสินค้าซ้ำ ๆ ซึ่งเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายให้กับแบรนดในท้ายที่สุด

สร้างกระแสผ่าน Virtual influencer

เรียกได้ว่าในปีนี้เป็นปีสำคัญของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของวงการ Cryptocurrency การสร้างโลกเสมือนจริงอย่าง Metaverse ในวงการการตลาดไทยเอง ก็ได้มีการเปิดตัว Virtual influencer หรืออินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง ซึ่งกลายเป็นกระแสอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และกลายเป็นความท้าทายสำคัญของทั้งผู้สร้างและนักการตลาดด้วย เพราะหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้การทำ Influencer marketing ไทยสำเร็จ คือความจริงใจและความเป็นกันเองของตัวอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อสร้าง Engagement ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ Virtual influencer อาจจะไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นมนุษย์ แต่ทั้งนี้การเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ประเภทนี้ ก็สามารถสร้างการมองเห็นและสร้างกระแสในวงการได้มากทีเดียว

อย่างไรก็ตามทาง Kollective ก็ยังมองว่าการเลือกใช้ Virtual influencer เป็นอีกหนึ่งแทรนด์ที่น่าจับตามองมาก ๆ ในช่วงปีหน้า 

Social E-commerce เทรนด์การปิดการขายที่กำลังเติบโต

หลายแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ E-commerce อย่าง Shopee หรือ Lazada เป็นช่องทางปิดยอดขายหลัก อาจจะต้องมองย้อนกลับมายังพวกช่องทาง Social media ที่เคยใช้ในการโปรโมทมากขึ้น เพราะในปัจจุบันเอง พวก Social media เหล่านี้ก็ได้มีการพัฒนาฟีเจอร์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แบรนด์ในการค้าขายสินค้ามากขึ้น นอกเหนือจากแค่เป็นช่องทางในการยิงโฆษณาไปยังกลุ่มคนที่สนใจสินค้าบนแพลตฟอร์ม อย่าง Instagram ที่มีการปรับ Layout ของตัว Application และเพิ่มหน้า Shop เข้ามา หรือการเพิ่มฟีเจอร์เล็ก ๆ อย่างปุ่ม Link หรือปุ่มที่เชื่อมไปยัง Delivery app ใน Stories

อย่างทางฝั่ง Google เองก็เพิ่งออกมาประกาศถึงแผนที่จะเชื่อมต่อ Youtube เข้ากับช่องทาง Ecommerce อย่าง Shopify เพื่อสร้างความสะดวกให้กับแบรนด์ในการสร้างยอดขายบน Social media มากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมในปีหน้า แบรนด์ควรให้ความสนใจกับการใช้ฟีเจอร์เหล่านี้ในการสร้างโอกาสทางการขายมากขึ้น 

เชื่อมต่อทุกช่องทางการตลาดเพื่อผลลัพธ์ทวีคูณ (Cross-channel campaign)

ในหนึ่งวันคนเราใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่นที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ TikTok ดังนั้นการทำการตลาดยุคนี้จึงไม่ใช่แค่การโฟกัสไปยังช่องทางใดช่องทางหนึ่ง แต่คือการเชื่อมต่อทุกช่องทาง (Cross-channel) เพื่อสร้างประสบการณ์และผลลัพธ์ทางการตลาดที่ดียิ่งขึ้น นอกเหนือจากการทำ Retargeting ads ในช่องทางช่องทางเดียว การใช้แพลตฟอร์มที่หลากหลายในการ Retargeting ไปยังกลุ่มที่สนใจ ยิ่งเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น

สร้างยอดขายได้จริง ผ่านการยิงโฆษณาผ่าน Customize Audience 

ในการทำ Influencer marketing ไทย หลายคนเชื่อว่าเป็นเพียงแค่การให้อินฟลูเอนเซอร์ลงโพสต์รีวิวสินค้าลงในโซเชียลมีเดียให้เท่านั้น แต่จริง ๆ ในการทำ Influencer marketing ไทยให้เวิร์ก เราควรที่จะใช้ Digital ads เข้ามาช่วยในกาารเสริมประสิทธิภาพผลลัพธ์ด้วย เพราะการลงเพียงโพสต์อย่างเดียว อาจจะทำให้เกิดการมองเห็นได้ไม่มากพอ นอกจากนั้นยังไม่สามารถที่จะติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้าง Conversion ได้อีกด้วย ซึ่ง Digital ads เช่น Facebook Ads Manager, Tiktok Ads Manager จะเป็นตัวช่วยที่จะเข้ามาอุดช่องโหว่ที่กล่าวไปข้างต้น โดยจะสามารถเข้ามาช่วยเพิ่มการมองเห็นไปยังกลุ่มผู้ติดตามอินฟลูเอนเซอร์หรือคนที่มีความสนใจใกล้เคียงผ่านการยิงโฆษณาด้วยเนื้อหาของอินฟลูเอนเซอร์ไปยัง Save audience หรือ Lookalike audine รวมไปถึงสามารถช่วยในการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เคยมีส่วนร่วมกับเนื้อหาของแบรนดห์หรืออินฟลูเอนเซอร์ได้ด้วยการยิง คอนเทนต์หรือโฆษณาไปยังกลุ่ม Customize Audience ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้ามากที่สุด

ค่าจ้างที่เหมาะสมส่งผลต่อผลลัพธ์ของแคมเปญ

ในการจ่ายค่าจ้างให้กับอินฟลูเอนเซอร์ แบรนด์สามารถเลือกได้ว่าควรจะจ่ายในรูปแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นการให้ส่วนลดพิเศษ การใช้สินค้าฟรี หรือการจ่ายเป็นเงินก็ตาม แต่สิ่งสำคัญคือแบรนด์ควรจะตอบแทนอินฟลูเอนเซอร์ให้คุ้มค่า เพื่อช่วยผลักดันให้อินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นเจ้าของคอนเทนต์ กระตือรือร้นในการช่วยแบรนด์สร้างคอนเทนต์ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้จริงนั่นเอง

สำหรับการวัดผลความคุ้มค่านั้นนอกเหนือจากความคุ้มค่าที่สามารถวัดได้ด้วยจำนวนยอดขายแล้ว ยังมี Earned media value (EMV) หรือที่เรียกว่ามูลค่าของสื่อที่ได้รับ โดยจะเป็นมูลค่าที่นำ Like, Engagement, Share ไปแปลงเป็นมูลค่าในรูปเงินบาท ที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถเปรียบเทียบความคุ้มค่าของอินฟลูเอนเซอร์ได้ง่ายยิ่งขึ้นและกำหนดค่าใช้จ่ายได้เหมาะสมมากขึ้น

Credit: Ogilvy, Business Insider, Upfluence, Influencer Marketing Hub, CreatorIQ, Hypeauditor และ Statista


หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ 090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email:contact@kollective.one

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *