fbpx

เจาะเทรนด์ Youtuber ไทย 2022 อยากทำการตลาดให้ปังต้องรู้

เมื่อพูดถึงช่องทางสำหรับดูวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลายคนก็ต้องนึกถึง Youtube จึงไม่แปลกใจว่าทำไมถึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญของเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ยูทูปเบอร์และแบรนด์ต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์เนื้อหา เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ไปจนถึงแนะนำสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ โดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ยิ่งในช่วงของสถานการณ์โควิดที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้ไปโดยสิ้นเชิง หลายแบรนด์เริ่มมองเห็นช่องทางในการจ้าง Youtuber รีวิวสินค้าหรือบอกต่อประสบการณ์มากขึ้น

ในปี 2021 Youtube มีผู้ใช้งานมากกว่า 1.86 พันล้านคนทั่วโลก โดยในแต่ละวันมีจำนวนมาใช้งานมากกว่า 10,000,000 ชั่วโมงต่อวัน อย่างในกลุ่มผู้ใช้งานอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ต่างก็ใช้เวลาในการดูคลิปวิดีโอบน Youtube เฉลี่ย 41.9 นาทีต่อวัน ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงบรรดาสมาร์ททีวี ซึ่งถ้าคิดเป็นรายสัปดาห์ก็ประมาณ 4.9 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ หรือ 255 ชั่วโมงต่อปีเลยทีเดียว

อย่างในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิดจนทำให้อุตสาหกรรมบันเทิงหรือบรรดางานอีเวนต์ต่าง ๆ ต้องยกเลิกหรือเลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนด ตัว Youtube กลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้ง เมื่อแบรนด์เลือกใช้ช่องทางนี้ในการทำ Livestream เพื่อโปรโมทสินค้า

โดยในช่วงครึ่งปีแรกของ 2021 มีจำนวนคนดู Livestream เพิ่มขึ้นกว่า 45% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 โดยบรรดาคนที่ดู Livestream กว่า 53% มองว่าการดู Livestream ทำให้พวกเขารู้สึกเข้าถึงและใกล้ชิดมากขึ้น ในขณะเดียวกัน 56% ก็มองว่าการดู Livestream ให้ประสบการณ์ที่ดีพอ ๆ กับการเข้าร่วมอีเวนต์จริง เพราะการไลฟ์ทำให้พวกเขาไม่สามารถคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ต่างจากการดูคลิปวิดีโอทั่วไปที่สามารถเลือกดูตามช่วงเวลาที่ต้องการ หรือดูเฉพาะบางส่วนของวิดีโอได้

ในแง่ของการทำโฆษณาบนช่องทางนี้ หลายแบรนด์พบว่า 70% ของคนที่ดูคลิปวิดีโอบน Youtube ที่มีการพูดถึงแบรนด์ เริ่มหาข้อมูลของแบรนด์มากขึ้น และสำหรับแบรนด์ที่มีการใช้โฆษณาบน Youtube เอง ก็พบว่าโฆษณาที่มีการยิงไปตามแนวโน้มความสนใจ (Intent) สามารถสร้างผลลัพธ์ได้ดีกว่าการยิงโฆษณาโดยการกำหนดลักษณะของเป้าหมาย (Demographic) ถึง 100% โดยคนกลุ่มที่ความสนใจมีอัตรากดข้ามโฆษณาที่น้อยกว่า และใช้เวลากบการดูโฆษณามากกว่า

ตัดภาพมาที่สถิติการใช้ Youtube ในประเทศไทยบ้าง แนวโน้มของการใช้ช่องทางนี้ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์มีมากขึ้นเรื่อย ๆ รองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

Youtuber ไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปีที่ผ่านมามีเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ทั้งหน้าเก่าและใหม่มาสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่หลากหลายบน Youtube มากขึ้น ส่งผลให้จำนวน Mega และ Mid-tier influencer บน Youtube เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยมีช่องที่มีผู้ติดตามเกิน 1 ล้านคน (Gold Button) สูงถึง 650 ช่อง ในขณะเดียวกันช่องที่มีผู้ติดตามกว่า 1 แสนคน (Silver Button) ก็เพิ่มสูงถึง 7,000 ช่อง โดยจากสถิติการใช้งานแพลตฟอร์มที่ผ่านมา พบว่าจำนวนชั่วโมงของคอนเทนต์ที่เหล่า Youtuber อัปโหลดขึ้นในช่องของตัวเองเพิ่มถึง 80% 

คนไทยสนใจ “คลิปการเงิน” เพิ่มสูงถึง 100%

คนไทยใช้เวลาดูวิดีโอบน Youtube มากขึ้นและหลากหลายขึ้น โดยเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ จะเห็นว่าจำนวนคนดูของคอนเทนต์แต่ละประเภทแตกต่างจากปีก่อนมากกว่า 50% อย่างวิดีโอประเภทการเงินเอง มีผู้ชมสูงเพิ่มจากเดิมถึง 100% รองลงมาคือวิดีโอประเภทคาราโอเกะที่เพิ่มขึ้น 70%

– คนไทยใช้เวลาดูวิดีโอประเภทการเงิน เพิ่มกว่า 100%

– คนไทยใช้เวลาดูวิดีโอประเภทคาราโอเกะ เพิ่มกว่า 70%

– คนไทยใช้เวลาดูวิดีโอประเภทออกกำลังกาย เพิ่มกว่า 50%

– คนไทยใช้เวลาดูวิดีโอประเภทเกษตรกรรม เพิ่มกว่า 50%

– คนไทยใช้เวลาดูวิดีโอประเภทสารคดี เพิ่มกว่า 45%

ศิลปินเปิดช่องบน YouTube เพิ่ม

นอกจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนศิลปินหน้าใหม่ที่สร้างตัวตนบนแพลตฟอร์ม Youtube จะเพิ่มขึ้นแล้ว การเข้ามาของเหล่าศิลปินหน้าเก่าในโลกออฟไลน์ ก็เข้ามาทำช่องของตัวเองบน Youtube เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่บรรดานักร้องหรือวงดนตรีเท่านั้น แต่บรรดานักแสดงชื่อดังก็เข้ามาใช้ช่องทางนี้ในการแชร์ปนะสบการณ์ บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อเชื่อมต่อกับเหล่าแฟนคลับมากขึ้นด้วย

คนไทยยอมเสียเงินเพิ่มเพื่อดู Youtube แบบไม่มีโฆษณา

จากข้อมูลของ Youtube ประเทศไทย พบว่าการเติบโตของผู้ใช้ Youtube Premium มีจำนวนสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยผู้ใช้ส่วนมากยอมที่จะจ่าย Subscription เพื่อรับชม Youtube แบบไม่มีโฆษณา ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลอย่างมากกับบรรดานักการตลาดที่กำลังวางแผนในการใช้โฆษณาบนแพลตฟอร์มนี้ ทำให้แบรนด์อาจจะต้องเลี่ยงการใช้โฆษณาเพื่อเข้าถึงโดยตรง เป็นการสร้างสรรค์คอนเทนต์บนชาแนลของตัวเอง หรือจ้างอินฟลูเอนเซอร์บนยูทูป เพื่อทำคอนเทนต์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ

Youtube คอมมูนิตี้ขนาดย่อม ๆ ที่ทรงพลัง

ด้วยตัวคอนเทนต์ของช่องทาง Youtube ที่มีระยะเวลายาว ประกอบกับมีเนื้อหาที่ค่อนข้างชัดเจนในการเข้าถึงกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน ทำให้ Youtube กลายมาเป็นหนึ่งในคอมมูนิตี้สำคัญ ที่รวบรวมคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันไว้ 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือกลุ่ม Youtuber สายเกม ที่มีแนวทางในการทำคอนเทนต์ของตัวเองชัดเจน และมีฐานแฟนคลับที่ค่อนข้างแข็งแรง ขึ้นไม่แปลกใจเลยว่าทำไมในช่วงปีที่ผ่านมา หลายแบรนด์เริ่มนำสินค้าเข้ามาพาร์ทเนอร์ หรือจ้าง Youtuber สายนี้ในการรีวิวสินค้ามากขึ้น

Youtube กลายเป็นช่องทางสำหรับ Storyselling

จากเดิมที่ Youtube ถูกใช้เป็นช่องทางสำหรับการบอกเล่าเรื่องราวหรือ Storytelling เท่านั้น แต่ในปัจจุบันหลาย ๆ แบรนด์เริ่มหันมาใช้ช่องทางนี้ในการสร้างเนื้อหาเพื่อขายสินค้า หรือเพิ่มยอดขายผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มมากขึ้น หรือใช้ Influencer จำนวนไม่น้อยในการสร้างสรรค์คลิปวิดีโอบอกต่อประสบการณ์การใช้สินค้าและบริการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้ามากขึ้น

เปิดตัวฟีเจอร์ Youtube Shorts ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

ในปี 2021 ที่ผ่านมาทาง Youtube ได้มีการเปิดตัว Youtube Shorts ในประเทศไทย เพื่อให้เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์สามารถสร้างสรรค์วิดีโอสั้น ๆ ได้ คล้ายกับคลิปวิดีโอสั้น ๆ ใน TikTok และ Reels ใน Instagram โดยตอนนี้พบว่ามีผู้รับชมวิดีโอผ่านฟีเจอร์นี้กว่า 15,000 ล้านวิวต่อวัน และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นในอนาคต สำหรับนักการตลาดที่กำลังมองหาช่องทางใหม่ ๆ ฟีเจอร์นี้จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจมาก ๆ

คนไทยดู Youtube บน Smart TV มากขึ้น

เมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของการใช้งาน Youtube บนเครื่องมือต่าง ๆ ค่อนข้างน่าสนใจ โดยในปีนี้ด้วยพฤติกรรมของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสถานการณ์โควิดที่ส่งผลให้ผู้คนเริ่มใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มของการใช้งาน Youtube บน Smart TV มีแนวโน้มสูงขึ้น สอดคล้องกับจำนวนยอดขายของ Smart TV ที่เติบโตขึ้นด้วย

Credit: Youtube culture and trends report, Hootsuite และงาน Youtube Brandcast Delivered ประเทศไทย


หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ 090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email:contact@kollective.one

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *