Introduction to Influencer marketing กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย ทำการตลาดผ่านนักรีวิว
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Influencer marketing หรือการทำการตลาดผ่านนักรีวิวมาบ้างแล้ว หรือเคยเห็นแคมเปญการตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์ เข้ามาโปรโมทสินค้ามาไม่น้อย แต่รู้ไหมว่าจริง ๆ Influencer marketing คืออะไร วันนี้ Kollective มีคำตอบ
Influencer marketing คืออะไร
Influencer marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่อาศัยพลังการบอกต่อของบรรดา Influencer (อินฟลูเอนเซอร์) หรือบุคคลที่มีผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดียและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เพื่อช่วยในการทำการตลาดโดยมุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรง และสร้างยอดขายให้กับแบรนด์ ซึ่งกลยุทธ์นี้ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็สามารถนำไปใช้ได้
Word of Mouth
“เพราะ 94% ของลูกค้าเชื่อคำแนะนำจากเพื่อนและคนรู้จัก” (Nielson, 2013)
จากผลวิจัยของ Neilson บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลกเปิดเผยในรายงาน Global Trust in Advertising and Brand Messages ว่าผู้บริโภคฝั่งเอเชียกว่า 94 เปอร์เซนเชื่อคำแนะนำจากคนรู้จัก ผู้บริโภคกว่า 76 เปอร์เซนให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ มีเพียงผู้บริโภค 42 เปอร์เซนที่เชื่อโฆษณาของแบรนด์ที่โพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย
Word of Mouth (WOM) คือ การสื่อสารแบบปากต่อปาก โดยบอกเล่าประสบการณ์ที่ได้จากการใช้สินค้าหรือการแนะนำสินค้า ซึ่งปัจจุบันนักการตลาดค่อนข้างให้ความสำคัญ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับการทำการตลาดรูปแบบอื่น และมีผลลัพธ์ที่น่าพอใจ บวกกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดการสื่อสารผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียกลายมาเป็นช่องทางสื่อสารหลัก ในขณะที่ผู้บริโภคให้ความเชื่อถือกับข้อมูลที่แบรนด์เป็นคนนำเสนอน้อยลง ผู้บริโภคกลับเชื่อคำพูดหรือคำแนะนำที่เกี่ยวกับแบรนด์จากเพื่อนหรือผู้บริโภคด้วยกันเอง เพราะความใกล้ชิดและประสบการณ์จริงที่คล้ายกันมากกว่า ยิ่งเป็น Influencer หรือนักรีวิวที่มีความสนใจเดียวกันและมีความเชี่ยวชาญ ยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ขึ้นไปอีก
ทำไมต้องใช้ Influencer marketing ในปีนี้
เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป อาศัยช่องทางในการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นช่องทางออนไลน์มากขึ้น ตลอดจนรับรู้ข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ลูกค้ารู้จักสินค้าจากโฆษณาตามสื่อใหญ่ ๆ อย่างโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารที่ใช้ดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงในการนำเสนอสินค้า จนปัจจุบันที่บรรดาสื่อใหญ่เหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อย่าง Facebook, Instragram, Youtube ตลอดจน TikTok หลาย ๆ ธุรกิจจึงต้องปรับตัวและหาวิธีในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปให้ได้
นอกจากช่องทางที่เปลี่ยนไป ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปด้วย จากที่เคยเชื่อถือพวกดารานักแสดง ตอนนี้กลับให้ความเชื่อมั่นและให้ความสำคัญกับการรีวิวจากประสบการณ์ตรงของคนใกล้ตัวหรือคนที่ตนเองสามารถจับต้องได้มากกว่า ยิ่งในสถานการณ์ที่มี COVID-19 เป็นอุปสรรคของแบรนด์ในการเข้าถึงลูกค้า บรรดานักรีวิวเหล่านี้กลับสามารถเชื่อมแบรนด์และลูกค้าได้อีกครั้ง ผ่านการเป็นกระบอกเสียงให้กับแบรนด์
- สร้างการรับรู้แบรนด์
นักรีวิว อินฟลูเอนเซอร์หรือคนธรรมดาที่มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ สามารถช่วยแบรนด์สร้างการรับรู้แบรนด์ และเจาะกลุ่มผู้ติดตามและดึงดูดให้ใช้สินค้าและบริการ ซึ่งสำคัญมากสำหรับแบรนด์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีคนรู้จัก
- สร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงได้
เมื่อผู้บริโภคไม่สามารถสัมผัสหรือทดลองใช้สินค้าได้ด้วยตนเอง บรรดานักรีวิวจึงเป็นช่องทางเดียวที่จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภค ช่วยให้ผู้บริโภครับรู้และมีประสบการณ์ร่วมกับสินค้าได้ผ่านคอนเทนต์ที่นำเสนอออกมาทั้งในรูปแบบของข้อความ รูปภาพหรือวิดีโอ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้สินค้าหรือบริการ
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
การที่อินฟลูเอนเซอร์บอกเล่าประสบการณ์ที่ได้จากการใช้บริการร้านค้าหรือร้านอาหาร ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ด้วยข้อความ รูปภาพ หรือวีดีโอต่าง ๆ ที่เผยให้เห็นถึงการจัดการด้านความปลอดภัย ความสะอาด และมาตรการป้องกันของร้านค้า
ถึงแม้ว่าปัจจุบัน บรรดาร้านค้าต่าง ๆ เร่ิมกลับมาดำเนินการอีกครั้ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มลูกค้าก็เคยชินกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการที่สามารถเข้าถึงทุกอย่างได้ด้วยปลายนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหารออนไลน์ การสั่งสินค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ แบรนด์จึงต้องโฟกัสที่การเข้าถึงลูกค้าด้วยช่องทางออนไลน์เช่นกัน
ข้อดีของการใช้ Influencer marketing
- เพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand awareness)
การสร้างการรับรู้แบรนด์เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการทำการตลาดสำหรับแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มต้นหรือแบรนด์ที่ต้องการขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น โดยการรีิวิวสินค้าด้วยคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์และจริงใจของอินฟลูเอนเซอร์ จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำมากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยกระจายข้อมูลข่าวสารของแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้
- เจาะตรงกลุ่มเป้าหมาย
นักรีวิวแต่ละคนก็จะมีความสนใจและความถนัดแตกต่างกัน ทำให้คอนเทนต์ที่ออกมามีความเจาะจง เข้าถึงและดึงดูดกลุ่มคนที่มีความสนใจใกล้เคียงกัน อย่าง Influencer สายอาหารก็จะดึงดูดผู้ติดตามที่ชื่นชอบคอนเทนต์อาหาร ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยว่าทำไมเมื่อ Influencer ทำการรีวิวสินค้าจึงสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่สนใจได้โดยตรง นอกจากนี้ตัวผู้ติดตามเองก็รู้สึกถึงความใกล้ชิดกับสินค้าผ่านการรีวิวประสบการณ์จริงจาก Influencer ที่รู้จักมากกว่าการโฆษณาของบริษัท
- สร้างความน่าเชื่อถือ
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือกับประสบการณ์จริงจากผู้บริโภคด้วยมากกว่าโฆษณาที่แบรนด์สื่อสารออกมาเอง ยิ่งเป็น Influencer ที่มีความเชี่ยวชาญและมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้บริโภคหรือที่เรียกกันว่า KOL (Key opinion leader) หรือ Influencer ที่มีความสนใจและไลฟไสตล์เดียวกับผู้บริโภคยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือขึ้นไปอีก
- เพิ่มยอดขายได้จริง
จากผลสำรวจของ Digital Marketing Institute พบว่า 86 เปอร์เซนของผู้หญิงให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดียและการรีวิวสินค้าของ Influencer ในการเลือกซื้อสินค้า และวัยรุ่นส่วนมากกว่า 60% มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าตาม Influencer ที่ตนเองติดตาม การใช้ Influencer marketing จึงนับเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจเลยทีเดียว
- เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด
ด้วยความที่ในการทำ Influencer marketing สามารถกำหนดงบประมาณที่จะใช้ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดไหนก็ทำได้ เและกลยุทธ์นี้ยังเหมาะมาก ๆ กับกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่มีงบประมาณจำกัด เพราะมี Influencer ระดับที่เป็น Nano และ Micro ให้เลือกใช้ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำการตลาดโดยใช้งบประมาณน้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็คุ้มค่า
เริ่มทำ Influencer marketing ยังไงดี
จากที่ได้เกริ่นให้ฟังถึงข้อดีของการจ้างอินฟลูเอนเซอร์รีวิวสินค้าแล้ว ทีนี้หลายคนคงสนใจที่จะลองใช้กลยุทธ์นี้แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงดี ก็ลองเริ่มจากการทำตามขั้นตอนได้ล่างได้เลย ซึ่ง Kollective จะขอแบ่งแนวทางหรือวิธีการใช้ Influencer marketing ออกมาเป็น 6 ขั้นตอนใหญ่ ๆ
- ทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะเข้าถึง
ไม่กว่าจะทำการตลาดด้วยวิธีไหนก็ตาม ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าสินค้าหรือบริการของคุณนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อใคร หรือใครที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ ซึ่งคุณต้องทำการบ้านมาให้ดีว่าคนกลุ่มนี้เป็นใคร เริ่มจากการหาข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอายุ ความสนใจ ลักษณะนิสัย ไลฟสไตล์ต่าง ๆ ยิ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนจะยิ่งทำให้สามารถเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้
- ตั้งเป้าหมายในการทำการตลาด
หลังจากที่รู้แล้วว่าต้องการเข้าหาใคร ก็ลองตั้งเป้าหมายดูว่าในการทำการตลาดครั้งนี้คุณมีวัตถุประสงค์อะไร เช่น ต้องการเป็นที่รู้จัก ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ต้องการให้มีลูกค้าทักแชท หรือต้องการที่จะเพิ่มยอดขาย เพราะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันย่ิมมีกลยุทธ์และวิธีการเลือก Influencer ที่ต่างกัน อย่างถ้าเราต้องการเป็นที่รู้จักในวงการ การใช้ Influencer ที่เป็นดารานักแสดงชื่อดังก็จะช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ได้
- เลือกช่องทางหลักที่จะใช้
แต่ละช่องทางโซเชียลมีเดีย ก็จะมีรูปแบบของคอนเทนต์ที่แตกต่างกันออกไป อย่าง Instagram จะเป็นช่องทางที่เหมาะกับรูปภาพ ถ้าเป็นวีดีโอก็อาจจะต้องเลือกใช้ Youtube หรือถ้าเป็นข้อความยาว ๆ ก็อาจจะต้องเป็น Facebook ซึ่งก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ในแต่ละช่องทางด้วย อย่างผู้ใช้ใน Instagram ส่วนมากก็จะชื่นชอบการถ่ายรูป ชอบแชร์เรื่องราวในชีวิตประจำวันผ่าน IG Story และหลายคนมักจะชอบติดตาม Influencer ที่ถ่ายรูปและแต่งรูปสวย หรือมีไลฟสไตล์ที่น่าสนใจ
- เลือก Influencer ที่เหมาะสม
สิ่งสำคัญในการทำ Influencer marketing ให้มีประสิทธิ์ภาพคือการเลือก Influencer ซึ่งก็จะอิงจากกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ตั้งแต่แรกด้วย ซึ่งปัจจัยที่ใช้ในการเลือกก็มีทั้งข้อมูลของ Influencer ทั้งข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเชิงลึก และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ติดตามของ Influencer ด้วย
- ติดตามและวัดผลลัพธ์จากการทำแคมเปญ
ในการทำการตลาดแต่ละครั้ง การติดตามและวัดผลก็สำคัญเพราะทำให้รู้ว่าการตลาดที่เราทำไปคุ้มค่าแค่ไหน ตอบโจทย์เป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้ไหม และในการทำการตลาดครั้งต่อไป เราควรจะแก้ไขปรับปรุงส่วนไหนให้ดีขึ้น ซึ่งในการทำ Influencer marketing เราสามารถวัดผลได้จากยอดการเข้าถึง (Reach) ยอดการมีส่วนร่วม (Engagement) อย่างไลกื แชร์ คอมเมนต์ และวัดได้จากยอดขาย (Conversion)
การเลือกใช้ Influencer ให้เหมาะกับแบรนด์
ด้วยความที่เป็นกลยุทธ์ที่อาศัยตัว Influencer หรือนักรีวิวในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้เกิดผลลัพธ์การตลาด ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการเลือก Influencer ที่จะใช้ในแคมเปญ หลายครั้งที่เมื่อลองย้อนกลับไปดูจะเห็นว่าหลายแคมเปญที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะเลือก Influencer ที่ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ หรือบางแบรนด์ไม่ได้เลือก Influencer ให้ดี แต่เน้นการจ้าง Influencer จำนวนมาก ๆ ซึ่งในความเป็นจริงการใช้ Influencer จำนวนมากไม่ได้ตอบโจทย์เสมอไป กลับกันการเลือก Influencer จำนวนน้อยแต่มีคุณภาพ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ และช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้
เลือกตามจำนวนผู้ติดตาม
หนึ่งสิ่งที่มีผลต่อการทำการตลาดด้วยวิธีนี้คือจำนวนผู้ติดตาม ซึ่งในปัจจุบันได้มีการแบ่งประเภทของ Influencer ตามจำนวนผู้ติดตามไว้เป็น 5 ระดับหลัก ๆ ซึ่งในแต่ละระดับก็จะสร้างผลลัพธ์ให้แบรนด์แตกต่างกันไป
- Mega Influencer หรือ Celebrity Influencer: ผู้ติดตามมากกว่า 1M คน
เริ่มที่กลุ่มคนดังที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไปอย่างดารา นักร้อง นักแสดงที่มีชื่อเสียง กลุ่มนี้จะเหมาะกับแบรนด์ขนาดใหญ่หรือที่มีงบประมาณสูง และต้องการเปิดตัวสินค้าใหม่หรือต้องการสร้างการรับรู้เป็นวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว เพราะการที่ Influencer กลุ่มนี้มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงได้ ประกอบกับใช้ค่าใช้จ่ายสูง
- Macro Influencer: ผู้ติดตามตั้งแต่ 500K-1M คน
ต่อมาเป็นกลุ่มคนดังที่มียอดติดตามรองลงมาอยู่ที่ 5 แสนคนถึง 1 ล้าน ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มเน็ตไอดอลหรือคนที่มีชื่อเสียงในโซเชียลมีเดีย โดยกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกับ Mega Influencer ที่ช่วยในเรื่องของการสร้างการรับรู้แบรนด์ แต่มีกลุ่มเป้าหมายที่เจาะจงมากขึ้น ในส่วนของการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและยอดขายอาจจะไม่มากนัก จึงเหมาะกับแบรนด์ที่มีงบประมาณเยอะ ต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ ในขณะเดียวกันก็ต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
- Mid-tier Influencer: ผู้ติดตามตั้งแต่ 50-500K คน
มาถึงกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่เริ่มเป็น Influencer มืออาชีพ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง มีช่องทางในการทำคอนเทนต์เป็นของตัวเอง มีทักษะในการคิดและสร้างคอนเทนต์ อาจจะมีทีมงานที่คอยช่วยเหลือในการทำคอนเทนต์ และซึ่งก็จะมีฐานผู้ติดตามหลักอยู่แล้ว เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่สามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ การมีส่วนร่วม และยอดขายได้ในระดับหนึ่ง เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการ Influencer มืออาชีพ เน้นที่คุณภาพของคอนเทนต์ และต้องการเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจตรงกับ Influencer คนนั้น ๆ
- Micro Influencer: ผู้ติดตามตั้งแต่ 10-50K คน
กลุ่มคนทั่วไปที่เริ่มมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก อาจจะมีหรือไม่มีประสบการณ์ในการรีวิวสินค้าและสร้างคอนเทนต์ แต่เป็นกลุ่ม Influencer ที่ได้รับความสนใจที่สุด ด้วยไลฟสไตล์และภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและเฉพาะกลุ่มขึ้น เช่น เป็นกลุ่มคนดังในคณะ โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ประกอบกับจำนวนผู้ติดตามที่พอเหมาะทำให้เป็นกลุ่มที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมและยอดขายได้มากที่สุด อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงมาก
- Nano Influencer: ผู้ติดตามตั้งแต่ 1-10K คน
กลุ่มคนทั่วไปที่มีจำนวนผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียพอสมควร Influencer กลุ่มนี้มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากที่สุด เพราะผู้ติดตามส่วนมากจะเป็นเพื่อนหรือคนรู้จัก จึงส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและการตัดสินใจเลือกใช้สินค้าและบริการสูงที่สุด เหมาะที่สุดสำหรับแบรนด์ขนาดเล็กที่ยังไม่มีงบประมาณมากนัก หรือแบรนด์ที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมหรือยอดขายโดยเฉพาะ
เลือกจากโซเชียลมีเดียที่ใช้
นอกจากการเลือก Influencer จากจำนวนผู้ติดตามแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลคือช่องทางโซเชียลมีเดียที่ต้องการจะใช้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพราะแต่ละช่องทางก็จะมีลักษณะของคอนเทนต์ที่แตกต่างกันไป ทำให้ Influencer ในแต่ละช่องทางก็มีความแตกต่างเช่นกัน โดยปัจจุบัน ช่องทางหลักที่เราเจอว่ามีการทำ Influencer marketing แล้วมีประสิทธิภาพที่สุด คือ Instagram, Facebook, Youtube และ TikTok
ปฏิเสธไม่ได้ว่า Instagram เป็นช่องทางสำคัญสำหรับหลายแบรนด์ที่มีสินค้าไลฟสไตล์ในการทำการตลาด และเป็นช่องทางโซเชียลมีเดียหลักที่คนรุ่นใหม่เลือกใช้ สำหรับคอนเทนต์ในช่องทางนี้ก็จะโฟกัสอยู่ที่ภาพถ่ายและวีดีโอสั้น ๆ การเลือกใช้ Influencer สำหรับช่องทางนี้ จึงเหมาะกับ Influencer ที่มีความถนัดหรือชอบถ่ายภาพ ประกอบกับ Instagram เป็นช่องทางในการแสดงให้เห็นถึงไลฟสไตล์ผ่านภาพถ่ายและวีดีโอที่โพสต์ลงในหน้าโปรไฟล์ ทำให้แบรนด์ควรจะคำนึงถึงไลฟสไตล์ของตัว Influencer ด้วย
- Youtube
ช่องทางหลักสำหรับคนที่ต้องการเสพสื่อวีดีโอโดยเฉพาะ แน่นอนว่ารูปแบบคอนเทนต์สำหรับช่องทางนี้คือวีดีโอที่มีความยาว จึงเหมาะกับ Influencer ที่มีความสามารถในการพูดให้น่าสนใจ มีความสามารถหรือทีมงานตัดต่อคลิป ซึ่งเหมาะมาก ๆ กับคอนเทนต์ที่เป็นการรีวิวสินค้า การบอกเล่าประสบการณ์หรือการให้คำแนะนำ
ช่องทางที่มีคนใช้มากที่สุดและมีช่วงอายุของผู้ใช้ที่กว้างที่สุด เหมาะสำหรับลงคอนเทนต์ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพ วีดีโอหรือข้อความที่มีความยาว เหมาะกับการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะเอื้อกับการแชร์และการคอมเมนต์มากที่สุด ด้วยความกว้างและหลากหลายของกลุ่มผู้ใช้ Influencer สำหรับช่องทางนี้จึงควรมีฐานแฟนคลับหรือผู้ติดตามเพจจำนวนหนึ่ง หรือเป็น Influencer ที่กำลังได้รับความสนใจ
- TikTok
ช่องทางใหม่สุดฮอตของบรรดาเด็กรุ่นใหม่ รูปแบบคอนเทนต์หลักและคอนเทนต์เดียวคือคลิปวิดีโอขนาดสั้น ประกอบกับมีฟิลเตอร์ให้เลือกใช้ที่หลากหลาย โดยส่วนมากมักจะเป็นคอนเทนต์ตามเทรนด์หรือชาเลจในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง จึงเหมาะกับ Influencer ที่ชอบสร้างสรรค์คอนเทนต์ผ่านการเต้นหรือการทำชาเลจตามเทรนด์ มีฐานผู้ติดตามในจำนวนหนึ่ง และต้องเป็นคนที่ตามเทรนด์อยู่เสมอ
นอกเหนือจากนี้ ในการเลือก Influencer มาใช้จะต้องดูข้อมูลประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไป อย่างอายุ ที่อยู่ การศึกษา ความสนใจ ไลฟสไตล์ ไปจนถึงพวกข้อมูลตัวเลขอย่าง ยอด Reach ยอด Engagement ยอดผู้ติดตาม หรือข้อมูลของผู้ติดตาม อย่างเพศ การศึกษา ความสนใจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ติดตามของ Influencer ที่เราเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราจริง ๆ
การวัดผลการใช้ Influencer marketing
การติดตามและวัดผลจากการทำ Influencer marketing จะทำให้เรารู้ว่าการลงทุนของเรานั้นคุ้มค่าหรือตอบจุดประสงค์หรือไม่ ซึ่งสามารถวัดผลได้จากคอนเทนต์ที่ได้ ผลตอบรับจากผู้บริโภค หรือวัดจากตัวเลขเมตริกที่ได้จากการลงโพสต์ของ Influencer ซึ่งก็จะมีชื่อเรียกและการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละช่องทาง สำหรับวันนี้ Kollective จะขอยกตัวอย่างมาเพียงตัวเลขบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้
- Impression and Reach
Impressions คือจำนวนครั้งที่คอนเทนต์นั้นถูกแสดงออกไป ซึ่งอาจจะมีการแสดงผลซ้ำให้คนเดิมเห็นได้ ส่วน Reach คือจำนวนของคนที่เห็นคอนเทนต์ ซึ่งทั้ง Impression และ Reach เป็นตัวเลขที่สำคัญมากสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างการรับรู้ เพราะตัวเลขทั้งสองตัวชี้วัดว่า Influencer ที่เลือกทำให้คนรับรู้แบรนด์เพิ่มขึ้นมากแค่ไหน ซึ่งสามารถวัดความคุ้มค่าได้จาก Cost Per Reach (CPR) ที่คิดจากค่าใช้จ่ายต่อการที่คนเห็นคอนเทนต์นั้นหนึ่งครั้ง
- Engagement (การมีส่วนร่วม)
Engagement เป็นการวัดผลการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นกับคอนเทนต์ ซึ่งก็คือยอดไลก์ ยอดแชร์ คอมเมนต์ รวมไปถึงการคลิก เป็นอีกหนึ่งค่าสำคัญที่บ่งบอกว่าแบรนด์ของคุณได้รับความสนใจมากแค่ไหน รวมถึง Influencer นั้นเหมาะกับแบรนด์ของคุณหรือไม่ โดยจะมี Cost per engagement (CPE) หรือก็คือ ค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งการมีส่วนร่วม บ่งบอกถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่า
- Website Traffic (การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์)
Website Traffic คือการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นจริง โดยจะช่วยบอกได้ว่าผู้ติดตามของ Influencer มีแนวโน้มที่จะสนใจสินค้าของคุณมากแค่ไหน ซึ่งวัดด้วย Cost-Per-Click (CPC) ที่คิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อการเยี่ยมชมเว็บไซต์หนึ่งครั้ง
- Conversion (ยอดขาย)
หลายแบรนด์ลงทุนทำการตลาดก็เพื่อทำให้ยอดขายของแบรนด์เพิ่มขึ้น สำหรับการวัดยอดขายในการทำ Influencer marketing นั้นมีหลายวิธี สำหรับวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด คือการสร้าง Code ส่วนลดเฉพาะสำหรับ Influencer แต่ละคน เมื่อมีคนสั่งซื้อสินค้าของคุณด้วย Code เหล่านี้ จะรู้ทันทีว่า Influencer คนไหนสร้างยอดขายให้คุณ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าการวัดผลสำหรับ Influencer marketing เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการวัดผลจะทำให้คุณทราบว่าการลงทุนของคุณนั้นคุ้มค่าหรือไม่ รวมถึงทำให้คุณทราบถึงผลลัพธ์ และทำให้การใช้ Influencer marketing นั้นเกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้คุณได้ข้อมูลกลับไปใช้ในการพัฒนาการใช้ Influencer marketing ในครั้งถัดไปของคุณอีกด้วย
อยากเริ่มนำ Influencer marketing มาใช้ในการทำการตลาดต้องเริ่มอย่างไร ?
จากที่อธิบายมาทั้งหมด คุณน่าจะพอเห็นภาพคร่าว ๆ ของการทำ Influencer marketing แล้วว่ามีข้อดียังไงและแตกจากจากการทำการตลาดด้วยวิธีอื่นยังไง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ก็เลือกใช้กลยุทธ์นี้เข้ามาเป็นกลยุทธ์หลักหรือเสริมการตลาดด้วยช่องทางและรูปแบบอื่นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเป็นวิธีที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด
สำหรับใครที่ต้องการใช้ Influencer marketing กับแบรนด์ของตัวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร หรือเคยทำมาแล้วแต่ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ปัจจุบันก็มีเอเจนซี่หลายบริษัทที่รับทำการตลาดด้วยวิธีนี้ อย่าง Kollective เองก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการทำ Influencer marketing โดยเฉพาะ ซึ่งความพิเศษของเราจะอยู่ที่การนำข้อมูลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้
ซึ่งแน่นอนว่าข้อดีของการนำข้อมูลและเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับการทำ Influencer marketing คือการที่คุณสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือจัดการงบประมาณที่มีอย่างจำกัดให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดผ่านการเลือก Influencer ที่เหมาะสมและการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด นอกจากนี้การใช้ระบบติดตามผลลัพธ์จะทำให้คุณรู้ว่ายอดขายของคุณเป็นยังไง คนทั่วไปพูดถึงสินค้าของคุณยังไงบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยคุณในการวางแผนทำการตลาดในครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้นได้
และนอกเหนือจากการทำ Influencer marketing ตามปกติแล้ว Kollective ยังนำเครื่องมือในการทำการตลาดอื่น ๆ เข้ามาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Ads ในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ การใช้กลยุทธ์ SEO/ SEM เข้ามาช่วยให้ลูกค้าเจอสินค้าของคุณในทุกช่องทาง หรือใช้การทำ CPAS ช่วยในการเพิ่มยอดขายผ่านทาง Shopee, Lazada หรือ JD Central เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกแคมเปญการตลาดจะสามารถบรรลุเป้าหมายและสร้างผลลัพธ์ทางการตลาดให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Awareness, Engagement หรือ Conversion ก็ตาม
เราไม่ได้เป็นเพียงแค่แพลตฟอร์ม ที่จะตอบโจทย์แบรนด์ในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ แต่เราต้องการสร้าง Ecosystem ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภค แบรนด์ และอินฟลูเอนเซอร์ให้ได้มากที่สุด
- บทความเกี่ยวกับความรู้การตลาดเพิ่มเติม
- ทวนความจำ มาทำความรู้จัก influencer marketing
- ไขข้อสงสัย Influencer มีกี่ประเภท? พร้อมเผยกลยุทธ์การบอกต่อที่ได้ผลลัพธ์เกินคาด
- KOL vs Influencer เลือกแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับแบรนด์?
- Influencer สายไหนเหมาะกับธุรกิจการเงินและการศึกษา?
- เพิ่มยอดจองทันใจ! ใช้ Influencer โรงแรมก็เอาอยู่
- เพิ่มยอดขายแบบปัง ๆ ! แค่ใช้ Social media influencer ให้ถูกแพลตฟอร์ม
- Influencer Marketing ทางเลือกใหม่ เพิ่มยอดขาย กระจายฐานลูกค้า
หรือสอบถามโดยตรงได้ที่ 090-293-8951 (คุณกอล์ฟ ฝ่ายการตลาด)
Facebook: Kollective – Integrated Influencer Marketing Optimizer
Line: @kollective.th
Website: https://kollective.one
Email: contact@kollective.one